คำถามของคุณได้ถูกส่งถึง
ชมรมหญิงใหญ่เรียบร้อยแล้วค่ะ
เร็วที่สุดหรือภายใน 24 ชม. ปิดหน้านี้
ผู้หญิงสมัยนี้เริ่ดแบบไม่มีวันยอมแก่กันเลยทีเดียว มีผู้หญิงหลายคนที่อายุ 40, 45,หรือ
แม้แต่ 50 ไปแล้วแต่ก็ยังดูดี๊ดูดีได้อีก ทั้งหน้าตาดี ผิวพรรณดี หุ่นดี สุขภาพดีและหลาย คนยังดีมาก
จนถึงขั้นมีแฟนเด็กกันเลยทีเดียว
แต่ไม่ว่าคุณจะสวยดูดีขนาดไหน อาการของสาวสวยวัย 40 ขึ้นไปก็ต้องเจอร่างกายรวน กันบ้างใช่ไหมคะ?
ไม่ต้องตกใจ...อาการเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องธรรมดาของสาวอายุ 40+ แต่จะไม่สามารถทําลายความสวย
มีเสน่ห์ดูดีของเราได้ โดยเฉพาะ เมื่อน้องสาวของเราเกิดอาการแห้งมีกลิ่น หรือเจ็บแสบ เรามีวิธีดูแล
และป้องกัน เพื่อให้คุณกลับมาเป็นสาวสวยสุขภาพดีได้อย่างเดิม
จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุ 50 ปี เมื่อถึงวัยนี้ รังไข่จะหยุดทำงาน และไม่มี
การตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ฮอร์โมน
เพศหญิงที่ขาดหายไปนี้มีชื่อว่าเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จึงทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของ
ร่างกายและจิตใจต่างๆ ตามมา อาการของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นรู้จักกันโดยทั่วไปว่า
เลือดจะไปลมจะมา
เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ผนังช่องคลอดที่เคยหนา ยืดหยุ่น พองตัวได้
และมีรอยพับหยักก็กลับเรียบ ขาดความยืดหยุ่นเมื่อมีเพศสัมพันธ์ก็เกิด
อาการเจ็บ จึงอาจส่งผลให้ชีวิตรักกับสามีหรือคนรักเกิดปัญหาได้
ผนังบุช่องคลอดที่แห้ง จะไม่สามารถปล่อยสารไกลโคเจน (Glycogen)
มาคอยดูแลช่องคลอดได้เหมือนเดิม เชื่อโรคแปลกปลอมจึงสามารถเข้ามา
ในบริเวณช่องคลอดได้ง่าย
เนื่องจากไกลโคเจนเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดีที่เรียกว่า แลคโตบาซิลลัส
(Lactobacillus) ซึ่งแลคโตบาซิลลัสจะปล่อยสารไฮโดรเจนเปอร์ออกมา
ปกคลุมช่องคลอด ทำให้เกิดสภาวะเป็นกรดอ่อน (pH 4.5) จึงสามารถ
ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแปลกปลอมเข้ามาได้ หากช่องคลอดขาดไกลโคเจน
แลคโตบาซิลลัสจะลดลง เชื้อโรคจึงคุกคาม จนช่องคลอดอาจติดเชื้อ
เกิดตกขาว คัน และมีกลิ่นได้ง่าย
A : ปัญหาช่องคลอดแห้ง เกิดจากการลดลงของฮอร์โมน เอสโตรเจน ซึ่งมีหน้าที่ ทำให้ภายในช่องคลอด มีความอวบอิ่ม ยืดหยุ่น และทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นภายใน เมื่อระดับฮอร์โมน เอสโตรเจนลดลง เนื่องจาก เริ่มเข้าสู่วัยทอง จะทำให้ช่องคลอดบาง ขาดความยืดหยุ่น ฉีกขาดได้ง่าย และน้ำหล่อเลี้ยงภายในช่องคลอดลดลง ทำให้เวลามีเพศสัมพันธ์ จึงรู้สึกเจ็บ แสบ และอาจมีเลือดออกปนมาได้ นอกจากภาวะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงแล้ว การทำลายสมดุลของช่องคลอด ด้วยการสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ หรือการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด ซึ่งจะทำให้ปริมาณแบคทีเรียที่ดี (แลคโตบาซิลลัส) ที่อยู่บริเวณช่องคลอดลดลง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณช่องคลอด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะช่องคลอดแห้งในผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยทองได้
A : วิธีการดูแลตัวเอง เมื่อเกิดปัญหาช่องคลอดแห้ง ในเบื้องต้นนั้น หากปัญหาไม่รุนแรงนัก อาจเริ่มต้นด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มี สารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen), ไอโซฟลาโวนส์ (Isoflavones) และ ลิกแนน (Lignans) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน พบมากใน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เป็นต้น นอกจากนั้น อาจใช้สารหล่อลื่น หรือสารให้ความชุ่มชื้นในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยลดอาการเจ็บ แสบ แต่วิธีการนี้ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงนั้น เกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การรักษาด้วยการใช้ยาเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนบริเวณช่องคลอด จึงเป็นอีกหนึ่งการรักษาที่ตรงจุด โดยในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนายาเม็ด ชนิดสอดบริเวณช่องคลอด ที่ประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงบริเวณช่องคลอด และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่บริเวณช่องคลอด การทำงานร่วมกันของ เอสโตรเจนและแลคโตบาซิลลัส จะทำให้ช่องคลอดกลับมามีความหนานุ่มชุ่มชื้น มีความยืดหยุ่น และมีปริมาณน้ำหล่อลื่นเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดปัญหาช่องคลอดแห้ง ระคายเคือง เจ็บ แสบขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
A : เมื่อเข้าสู่วัยทอง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง จะทำให้ช่องคลอดบาง ขาดความยืดหยุ่น ฉีกขาดได้ง่าย และน้ำหล่อเลี้ยงภายในช่องคลอดลดลง ทำให้เวลามีเพศสัมพันธ์ จะรู้สึกเจ็บ แสบ ส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่ ของสาววัยทองได้ วิธีการรักษา อาจทำได้โดยการใช้สารหล่อลื่น หรือสารให้ความชุ่มชื้นในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยลดอาการเจ็บ แสบ แต่วิธีการนี้ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงนั้น เกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การรักษาด้วยการใช้ยาเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนบริเวณช่องคลอด จึงเป็นอีกหนึ่งการรักษาที่ตรงจุด โดยในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนายาเม็ด ชนิดสอดบริเวณช่องคลอด ที่ประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงบริเวณช่องคลอด และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่บริเวณช่องคลอด การทำงานร่วมกันของ เอสโตรเจนและแลคโตบาซิลลัส จะทำให้ช่องคลอดกลับมามีความหนานุ่มชุ่มชื้น มีความยืดหยุ่น และมีปริมาณน้ำหล่อลื่นเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดปัญหาช่องคลอดแห้ง ระคายเคือง เจ็บ แสบขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
A : เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้ผนังช่องคลอดที่เคยอวบอิ่ม ยืดหยุ่น มีความชุ่มชื้น กลับบางเรียบไม่ยืดหยุ่นและชุ่มชื้นอีกต่อไป ผนังช่องคลอดที่แห้งนี้จะส่งผลต่อปริมาณแบคทีเรียชนิดดี ที่เรียกว่า แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ลดลง ซึ่งแลคโตบาซิลลัสจะสร้างกรดแลคติก (Lactic acid) ทำให้ช่องคลอดมีสภาวะเป็นกรดอ่อน จึงสามารถป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอมได้ เมื่อปริมาณแลคโตบาซิลลัสลดลง จะทำให้เกิดการระคายเคือง ช่องคลอดอาจติดเชื้อ เกิดตกขาว คัน และมีกลิ่นได้ง่าย วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้นั้น ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนายาเม็ด ชนิดสอดบริเวณช่องคลอด ที่ประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงบริเวณช่องคลอด และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่บริเวณช่องคลอด การทำงานร่วมกันของ เอสโตรเจนและแลคโตบาซิลลัส จะทำให้ช่องคลอดกลับมามีความยืดหยุ่น หนานุ่มชุ่มชื้น และมีปริมาณน้ำหล่อลื่นเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดปัญหาช่องคลอดแห้ง ระคายเคือง เจ็บ แสบขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ และปริมาณแลคโตบาซิลลัส ที่เพิ่มขึ้น จะช่วยรักษาสมดุลของช่องคลอด ลดการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด ปัญหาตกขาว คัน และมีกลิ่นก็จะหมดไป
A : โดยปกติผู้หญิงทุกคนจะมีตกขาว ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำสีขาว ใส ไม่มีกลิ่น โดยตกขาวปกติจะพบมากในช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือน การติดเชื้อบริเวณช่องคลอด เช่นเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือพยาธิช่องคลอด จะทำให้เกิดตกขาวผิดปกติ เช่น ลักษณะและสีของตกขาวเปลี่ยนไป เป็นลักษณะคล้ายก้อนนมบูด หรือเป็นสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นเหม็นคล้ายคาวปลา โดยกลิ่นจะแรงขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และอาจมีอาการคันร่วมด้วย วิธีการรักษานั้นสามารถทำได้โดย การใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดเหน็บบริเวณช่องคลอด ซึ่งในปัจจุบันมีตัวยาที่สามารถออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้กว้าง และครอบคลุมทุกเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด เช่น ยาที่มีส่วนผสมของตัวยา ดีควอลิเนี่ยม คลอไรด์ (Dequalinium Chloride) เป็นต้น และหากมีการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆ (มากกว่า 2 ครั้ง ใน 3 เดือน) ควรพิจารณาหาปัจจัยเสี่ยง เช่น การใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอด การรับประทานอาหารประเภทของหมักดองบ่อยๆ หรือการรับประทานยาฆ่าเชื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้นั้นจะส่งผลให้ ปริมาณแบคทีเรียชนิดดี ที่เรียกว่า แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ลดลง ทำให้มีการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ทางแก้ไขสามารถทำได้โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ หรือใช้ยาเม็ดชนิดเหน็บช่องคลอด ที่มี แคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นส่วนผสม เพื่อช่วยเพิ่มจำนวน แลคโตบาซิลลัส คืนสมดุลที่ดีสู่ช่องคลอด และยังช่วยลดการติดเชื้อบริเวณช่องคลอดได้อีกด้วย
คำถามของคุณได้ถูกส่งถึง
ชมรมหญิงใหญ่เรียบร้อยแล้วค่ะ