เช็คอาการ “วัณโรค” แบบไหนที่ใช่? ทำอย่างไรเพื่อป้องกัน?
นอกจากโควิด-19 แล้ว วัณโรคยังเป็นโรคอันตรายที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจ
นอกจากโควิด-19 แล้ว วัณโรคยังเป็นโรคอันตรายที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจ
ช่วงนี้เราได้ยินเรื่องของ “วัณโรค” หลังจากที่ดาราสาวชื่อดัง น้ำตาล The Star เสียชีวิตด้วยวัณโรคหลังโพรงจมูก ข้อมูลจากสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค ปี 2018 บอกว่า
วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่สามารถแพร่กระจายทางอากาศไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย แม้หลังจากที่มีการค้นพบยาที่ใช้รักษาได้ผลดี และมีวัคซีนฉีดป้องกันจะทำให้ผู้ป่วยวัณโรคลดน้อยลง แต่ปัจจุบันโรคนี้ได้รับความสนใจจากองค์การอนามัยโลก เนื่องจากอัตราการติดเชื้อเริ่มมากขึ้นและมีเชื้อที่ดื้อยามากขึ้น
เมื่อกล่าวถึง “วัณโรค” หลายคนคิดว่าเป็นโรคซึ่งแทบจะหมดไปแล้วจากประเทศไทย แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง โดย “วัณโรค” เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคนี้ก็คือ “การสูบบุหรี่”
“วัณโรค” หรือ “โรคทีบี” (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยในรายที่เป็นหนักอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้แม้ปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจนหายขาดได้ แต่ปัญหาคือ ผู้ป่วยบางรายหยุดยาเอง ไม่กินยาจนครบชุดเพราะเข้าใจว่าหายแล้ว แต่ที่จริงยังคงมีเชื้อวัณโรคหลงเหลืออยู่ในร่างกายนำไปสู่การเกิด “วัณโรคดื้อยา”
เหล่าคุณแม่ควรจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคนี้ไว้นะคะ เพราะผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดได้ง่ายที่สุด คือ กลุ่มเด็กวัยซนที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปีค่ะ