Tag Archives: ฆ่าตัวตาย

สังเกตและใส่ใจคนในครอบครัว ช่วยลดโอกาส “ทำร้ายตัวเอง” ได้

ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นฆ่าตัวตาย หรือบางรายฮาร์ดคอร์ถึงขั้นไลฟ์สดการฆ่าตัวตายผ่านโซเชียลมีเดีย แม้พฤติกรรมเลียนแบบ ในกรณีการฆ่าตัวตายไม่ได้เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ แต่มีการศึกษา พบว่า บุคคลที่เปราะบาง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสเลียนแบบได้สูง

คนไทยไลฟ์สด “ฆ่าตัวตาย” เดือนละ 1-2 ครั้ง เสี่ยงเลียนแบบ

สร้างความสะเทือนใจอย่างยิ่ง สำหรับการแพร่ภาพสดการฆ่าตัวตายผ่านโซเชียลมีเดีย ที่มีข่าวปรากฏให้เห็นเมื่อไม่นานนี้ นอกจากทำให้รู้สึกสลดหดหู่แล้ว อาจทำให้เกิดการเลียนแบบในผู้ที่สภาพจิตใจเปราะบางหรือเผชิญกับปัญหาทุกข์ใจต่างๆ ไม่อยากให้สมาชิกในครอบครัวเป็นหนึ่งในนั้นก็ต้องรู้จักป้องกันค่ะ

สำรวจคนใกล้ตัวด้วย 9 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

“โรคซึมเศร้า”เป็นโรคทางจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจไปจนถึงร่างกาย เช่นนอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป เหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะหนีจากความทรมานทางจิตใจด้วยการ “ฆ่าตัวตาย”

“เด็กเก็บตัว” สัญญาณที่สะท้อนว่าลูกอาจถูกเพื่อนแกล้ง

อีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะในต่างประเทศ กับกรณีการฆ่าตัวตายเพราะถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง จึงเป็นเรื่องน่าตกใจและถูกพูดถึงในสังคมเป็นวงกว้าง จากกรณีนักเรียนชั้นมัธยมโรงเรียนดังย่านลาดพร้าว ใช้อาวุธปืนยิงตัวตายในบ้าน โดยพบจดหมายลาตาย ระบุสาเหตุมาจากการถูกเพื่อนแกล้ง

ฝึกทักษะชีวิตให้ “ลูก” ป้องกัน “ฆ่าตัวตาย” ในอนาคต

ปัญหาการทำร้ายตัวเองของเด็กและเยาวชนที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง นับเป็นปัญหาสำคัญที่สังคมไม่ควรมองข้าม ครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องให้ความสนใจ และหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

ชม-แชร์คลิปฆ่าตัวตาย เสี่ยงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้

ยังคงมีข่าวคราวปรากฏให้ได้เห็นอยู่เนืองๆ สำหรับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ซึ่งการถ่ายทอดสดการฆ่าตัวตายในลักษณะเช่นนี้ ไม่สามารถเซนเซอร์ได้ในขณะออกอากาศ และหากมีผู้ติดตามจำนวนมาก ย่อมส่งผลกระทบในวงกว้าง ที่น่ากลัวมาก คือ ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายเลียนแบบได้

โรคซึมเศร้ากับการฆ่าตัวตาย เรื่องดราม่าที่ไม่ได้มีแต่ในข่าว!

โรคซึมเศร้าถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังและเป็นมหันตภัยเงียบที่น่ากลัวคือ คนไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และไม่กล้าที่จะพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการจนทำให้เกิดความสูญเสียอันน่าเศร้าในที่สุด

วิธีง่ายสุดเพื่อลดเสี่ยงเป็น “โรคซึมเศร้า” ที่อาจไม่รู้กัน!

เพื่อนๆ เห็นด้วยมั้ยครับว่า “โรคซึมเศร้า” นั้นน่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว! เรื่องราวเหล่านี้ทำให้เฮียนึกถึงข้อมูลที่เคยอ่านมาว่า ผลงานวิจัยจาก Mcgill University ประเทศแคนาดา ค้นพบสาเหตุที่ไม่น่าเชื่อเลยว่า…

รู้จัก “โรคซึมเศร้า” ก่อนที่จะสายเกินไป!!

กลายเป็นโรคที่ระยะหลังเราได้ยินชื่อกันบ่อยครั้งในข่าวคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อโซเชี่ยลต่างๆ สำหรับ “โรคซึมเศร้า” ที่น่าตกใจก็คือแม้จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นปลิดชีพตัวเอง แต่หลายคนกลับไม่รู้ตัวว่ากำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้าอยู่