ไขข้อข้องใจ ข่าวจริง-ข่าวปลอมทางสื่อโซเชียล ที่แม่ท้องต้องรู้
ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารจำนวนมากที่ผ่านหูผ่านตาจากหลากหลายช่องทางบนสังคมออนไลน์ คุณแม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารจำนวนมากที่ผ่านหูผ่านตาจากหลากหลายช่องทางบนสังคมออนไลน์ คุณแม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ! ดูแลสุขภาพร่างกายดีแล้ว อย่าลืมสุขภาพช่องปาก เพราะหากฟันผุหรือโรคปริทันต์ อาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้
โรคเหงือกอักเสบ เป็นปัญหาพบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่ส่งผลถึงสุขภาพของแม่ท้องเท่านั้น ยังอาจทำให้เบบี๋คลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักน้อยได้
เราได้ยินกันมาเยอะถึงคำเตือนที่ว่า “ผู้หญิงไม่ควรมีลูกตอนอายุเยอะ” เพราะมีความน่ากังวลในเรื่องของปัญหาสุขภาพ ความแข็งแรงของเด็ก แต่จากการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ใน BMJ ชี้ว่า… ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นที่ไม่ควรมีลูกเมื่ออายุเยอะ แต่ในผู้ชายก็เช่นเดียวกัน
คุณแม่ท้องจำนวนไม่น้อยที่ขาดการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลตนเองและทารกในครรภ์อาจไม่เหมาะสม บางรายจึงเกิดภาวะแทรกซ้อนกับตนเองและทารกในครรภ์ เหล่านี่ล้วนนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิด “ภาวะคลอดก่อนกำหนด” ที่ส่งผลเสียหรืออันตรายทั้งกับตัวคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์ค่ะ
จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในภูมิภาคอาเซียน สาเหตุการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 72 มาจากการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมักมีภาวะพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย ดังนั้น ทารกกลุ่มนี้ต้องเข้ารับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดภายในควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกเรียกสั้นๆ ว่า “ตู้อบ”
การวางแผนการตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ โดยปัญหาคลอดก่อนกำหนดนี้ สามารถพบได้ทั้งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุมากกว่า 35 ปี
ประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่ปีละ 700,000 คน เป็นทารกเกิดก่อนกำหนดประมาณ 100,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง เพราะทารกเหล่านี้ไม่เพียงตัวเล็กน้ำหนักน้อย แต่อวัยวะต่างๆ ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดจึงต้องอาศัยทีมแพทย์และสถานพยาบาลที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
จากการวิจัยในปี 2008 ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคกาแฟมากกว่าสองถ้วยต่อวัน มีความเสี่ยงต่อการแท้งมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้ และผลของการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคกาแฟ 1-2 ถ้วยต่อวันหรือประมาณ 100-199 มิลลิกรัม ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขี้นถึงร้อยละ 20