ความหิวเป็นสัญญาณตามธรรมชาติของร่างกายที่ต้องการอาหารมากขึ้น โดยปกติแล้วเราจะรู้สึกหิวในมื้อต่อไปเว้นหลายชั่วโมง แต่หลายคนกลับเจอปัญหา “หิวบ่อย” ซึ่งทำให้ขาดสมาธิ ปวดหัวและรู้สึกหงุดหงิด ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? มาลองดูสาเหตุ ความเป็นไปได้ที่ทำให้เราหิวบ่อย และอาจก่อให้เกิดปัญหากินเกินซึ่งเป็นที่มาของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
- กินโปรตีนไม่พอ: โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความอยากอาหารโดยควบคุมฮอร์โมนความหิว ด้วยเหตุนี้gikอาจรู้สึกหิวบ่อย ๆ หากไม่ได้กินโปรตีนอย่างเพียงพอ
- อดนอน: ทำให้ระดับฮอร์โมนของความหิวลดลงและอาจทำให้รู้สึกหิวบ่อยขึ้น
- กินคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีเยอะไป: คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี หรือ Refined carbs นั้นขาดไฟเบอร์และทำให้น้ำตาลในเลือดผันผวนซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การกินมากเกินไปอาจทำให้เรารู้สึกหิวด้วย
- กินไขมันไม่พอ: เราอาจรู้สึกหิวบ่อย ๆ ถ้าไม่กินไขมันมากพอ นั่นเป็นเพราะไขมันมีบทบาทในการชะลอการย่อยอาหารและเพิ่มการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มนั่นเอง
- ดื่มน้ำน้อย: เราอาจหิวตลอดเวลาหากไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ นั่นเป็นเพราะน้ำมีคุณสมบัติลดความอยากอาหาร
- ไม่ได้กินไฟเบอร์: หากอาหารที่เพื่อนๆ กินขาดไฟเบอร์ หรือไม่เพียงพอ เพื่อนๆ อาจพบว่ารู้สึกหิวตลอดเวลา เนื่องจากไฟเบอร์มีบทบาทในการลดความอยากอาหารและทำให้อิ่ม
- ไม่โฟกัสกับการกิน: หากตอนที่เรากินมื้ออาหารและไม่โฟกัสกับอาหาร มีแนวโน้มว่าเราจะกินเกิน เนื่องจากไม่รู้สึกอิ่มหรือกินแล้วอยากกินอีก รวมทั้งการกินเร็วเกินไปด้วยเช่นเดียวกัน
- ออกกำลังกายหนักไป: ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำด้วยความเข้มสูงหรือในระยะยาวมักมีความอยากอาหารและเมแทบอลิซึมเร็วขึ้น ดังนั้นอาจทำให้หิวบ่อย
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป: อาจทำให้รู้สึกหิวบ่อย ๆ เนื่องจากบทบาทในการลดการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม
- เครียดมากเกินไป: ความเครียดที่มากเกินไปเป็นสาเหตุว่าทำไมเราอาจหิวบ่อยๆ เนื่องจากความสามารถในการเพิ่มระดับคอร์ติซอลในร่างกาย
- อาการของโรคบางอย่าง: ความหิวที่มากเกินไปเป็นอาการของโรคเฉพาะทางบางอย่างที่ทำให้เราหิวบ่อย ซึ่งหนึ่งในโรคนั้นคือ ขั้นแรกของอาการเป็นเบาหวานนั่นเอง
พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การหิวบ่อยๆ เพราะเมื่อหิวบ่อย ส่งผลให้เพื่อนๆ กินเกินซึ่งส่งผลเสียในเรื่องของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาด้วยนะคะ