7 ข้อนี่น่ะหรือ… ที่ทำให้เราหิวบ่อย หิวตลอด!

0

เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่คุณจะรู้สึกหิว เพราะร่างกายของคุณต้องอาศัยอาหารเป็นพลังงาน แต่ถ้าคุณรู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลา เน้นนะ! ว่าหิว รู้สึกหิวจริงๆ ไม่ใช่อยากกินเฉยๆ โดยคุณเป็นแบบนั้นแม้กระทั่งเพิ่งกินอาหารสักมื้อเสร็จ หากเป็นแบบนี้อาจมีบางอย่างก็อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของคุณก็ได้นะ โดยศัพท์ทางการแพทย์สำหรับความหิวมากคือ Polyphagia หากคุณรู้สึกหิวตลอดเวลา ควรไปพบแพทย์ ซึ่งรวมถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย

1. เบาหวาน

ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลในอาหารให้เป็นพลังงานที่เราเรียกว่า “กลูโคส” แต่เมื่อเป็นเบาหวาน กลูโคสจะเข้าไปไม่ถึงเซลล์ ร่างกายจะขับออกมาแทนทางปัสสาวะและที่ร้ายกาจคือมันจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้คุณกินมากขึ้น มากขึ้นกว่านี้! โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาจกินอาหารปริมาณมากแต่น้ำหนัก็ยังลดอยู่ นอกเหนือจากความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น อาการของโรคเบาหวานอาจรวมถึง

  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • น้ำหนักที่ลดลงเองอธิบายไม่ได้
  • สายตาเริ่มไม่ดี มองเห็นไม่ชัด
  • บาดแผลและรอยฟกช้ำที่ใช้เวลานานในการรักษา
  • รู้สึกเสียวซ่าหรือปวดในมือหรือเท้า
  • เหนื่อยง่าย

2. น้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือ ระดับกลูโคสในร่างกายลดลงจนถึงระดับที่ต่ำมาก อาการนี้บอกหลายอย่างนะ อย่างตับอักเสบ ความผิดปกติของไต เนื้องอกในตับอ่อนและปัญหาเกี่ยวกับต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง ในกรณีที่รุนแรง ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจดูเหมือนคนเมา พวกเขาอาจพูดไม่ชัดและเดินลำบาก อาการอื่นๆ อาจรวมถึง:

  • วิตกกังวล
  • รู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ผิวสีซีด
  • เหงื่อออก
  • รู้สึกเสียวซ่ารอบปาก

3. อดนอน

การพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ควบคุมความหิว คนที่อดนอนจะมีความอยากอาหารมากขึ้น และรู้สึกอิ่มยากขึ้น คุณมักจะกระหายอาหารที่มีไขมันสูงและแคลอรีสูงเมื่อคุณเหนื่อย ผลกระทบอื่นๆ ของการอดนอนมีอีกเยอะนะ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ไม่คงที่และหัวข้อสุดคลาสสิคอย่าง “น้ำหนักขึ้น”

4. เครียด

ในตอนแรกร่างกายของคุณจะขจัดความหิวด้วยฮอร์โมนที่เรียกว่า อะดรีนาลีน แต่ถ้าความกังวลของคุณยังคงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ระบบของคุณจะเพิ่มระดับของฮอร์โมนอื่น นั่นคือคอร์ติซอล สิ่งนี้สามารถทำให้คุณอยากกินทุกอย่างในสายตา เมื่อความเครียดลดลง ระดับคอร์ติซอลจะลดลง และความอยากอาหารของคุณก็จะกลับมาเป็นปกติ

5. คุณท้อง!

แม้ว่าคุณแม่บางคนจะรู้สึกไม่สบายใจที่จะกินมากในช่วงสองสามสัปดาห์แรก คุณแม่หลายคนยังอาจกระหายอาหารใหม่ๆ หรือรู้สึกไม่สบายเมื่อคิดว่าจะกิน อาหารโปรดก็ไม่โปรดอีกต่อไปอย่างน่าประหลาด หากคุณคิดว่านั่นอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วย ลองเช็คดูก่อนว่าคุณกำลังท้องหรือเปล่า?

6. too fast to eat! กินเร็วเกินไป

เมื่อคุณกินอาหารอาจให้เวลาร่างกายไม่พอที่จะสังเกตว่าคุณอิ่ม การกินช้าๆ ก็น่าพอใจมากกว่าเช่นกัน ดังนั้นคุณจึงกินน้อยลง ทริคที่ดีคือช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นกัดคำเล็กๆ เคี้ยวให้ดีๆ และเพลิดเพลินกับอาหารของคุณ ให้เวลาประมาณ 20 นาที และดูว่าคุณยังหิวอยู่หรือไม่

7. อาหารไม่อร่อย… หื้มมม ได้หรือ?

นักวิทยาศาสตร์ได้ใส่ตัวเลขลงไปแล้ว เรียกว่า “ดัชนีความอิ่ม” อาหารที่มีอันดับสูงกว่าจะตอบสนองความหิวของคุณได้ดีกว่าด้วยแคลอรี่เท่าเดิม ดูเหมือนไม่จริงแต่ก็จริงไปแล้ว

นี่คือ 7 ข้อที่ดู “เป็นไปได้หรือ?” ที่เกี่ยวกับอาการหิวตลอดเวลาของคุณ ลองเช็คดูนะคะว่าเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณหรือไม่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *