4 ข้อขอฉีกกฏ วิธีลดน้ำหนักเดิมๆ ที่ไม่มีทางเป็นจริง!

0

ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ล่าสุดบอกว่า หากใครยังคงติดอยู่ในวังวนการลดน้ำหนักที่ไม่เห็นผลเสียที อาจเป็นเพราะไม่ได้จัดการกับแคลอรี่ส่วนเกินอย่างถูกต้อง และนี่คือความจริง 5 ข้อ ที่ลบล้างความเชื่อและทฤษฎีเชยๆ และคุณจะกินอาหารได้มากขึ้นแต่น้ำหนักลดลง น่าสนใจพอที่จะตรึงคุณให้หยุดอ่านได้ไหมคะ!!

ใครๆ ก็รู้ทั้งนั้นการกินอย่างสมดุลเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าจะลดน้ำหนักและใช้หลักลดอย่างสมดุล นั่นคือกินเท่าไหร่เบิร์นออกเท่านั้น คุณไม่มีทางผอมลงแน่ๆ อยากลดน้ำหนักให้ได้ผลต้องเสียสมดุลกันบ้าง คือเบิร์นแคลอรีให้มากกว่าที่

กินเข้าไป

diet (2)

รู้ว่าร่างกายใช้พลังงานมากน้อยแค่ไหน วิธีคำนวณหาแคลอรีที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันเป็นที่นิยมสูง เช่น น้ำหนักตัวลบสิบ ( เพิ่มจำนวนวันออกกำลังกายใน 1 สัปดาห์) อาจเป็นวิธีคำนวณที่ผิดอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว เราจะแสดงให้คุณเห็นว่าผลลัพธ์ผิดๆ นั้น เป็นอย่างไร สมมติคุณเป็นผู้หญิงอายุ 30 ปี สูง 152 เซนติเมตร น้ำหนัก 72.5 กิโลกรัม ออกกำลังกายสัปห์ดาละ 2 ครั้ง แต่พอคำนวณตามสูตรแล้วผลออกมาว่า ร่างการคุณต้องการวันละ 2400 แคลอรีต่อวัน แต่เป้าหมายคือลดน้ำหนักลงเหลือ 57 กิโลกรัมภายใน 6 เดือน

วิธีแก้

ดร.เควินและทีม เลยออกแบบโปรแกรม คำนวณค่าแคลอรีเบสไลน์ออนไลน์ ซึ่งมีตัวแปรเพิ่มเข้ามา เช่น อายุ ระดับการทำกิจกรรมแต่ละวัน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพื่อหาค่าแคลอรีเบสไลน์ที่ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน จดและจำตัวเลขที่ออกมาให้ดี และลดปริมาณการกินให้เยอะกว่าเดิม ถึงเวลาวางคริสปี้ครีม แล้วคว้ารองเท้าเข้ายิมสักที

ตั้งเป้าลดปริมาณแคลอรีต่อวัน

เคยได้ยินไหมว่า การลด 500 แคลอรีต่อวัน ช่วยลดน้ำหนักได้ 2 กิโลกรัมต่อเดือนเชียวนะ นั่นมันวิทยาศาสตร์เมื่อ 50 ปีก่อนนู้น ถ้าคุณยังทำตามทฤษฎีนี้ลดจริงค่ะ แต่เป็นกล้ามเนื้อต่างหาก แถมระบบเผาผลาญพลอยลดลงตาม เมื่อคุณกลับมากินตามปกติเมื่อไร โยโย่เอฟเฟ็กต์ถามหาแน่

diet (3)

วิธีแก้

หากคุณต้องการลดน้ำหนัก 12 กิโลกรัมภายใน 6 เดือน (โดยไม่ออกกำลังกาย) หมายความว่าคุณต้องการพลังงานต่อวัน 1,450 แคลอรี เพื่อบรรลุเป้าหมาย 57 กิโลกรัม คุณจะต้องคำนวณแคลอรีเบสไลน์ใหม่ เพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่ คือ 1,985 แคลอรี ดร.เควินแนะนำให้คุณอดทน การลด 100 แคลอรีต่อวันนั้น มีผลต่อการลดน้ำหนัก อาจจะไม่เห็นผลทันใจ แต่ดีในระยะยาวค่ะ

ให้คะแนนพฤติกรรมการกินแต่ละวัน

แม้แต่คนคอยจดบันทึก อาหารทุกคำที่คุณเอาเข้าปากก็ยังมีโอกาสผิดพลาด การศึกษาจากศูนย์วิจัย Pennington Biochemical ค้นพบว่าผู้มีความรู้ ด้านการนับแคลอรีอาหารที่บริโภคเข้าไป ก็ยังคำนวณพลาดถึง 18 เปอร์เซ็นต์

วิธีแก้

อย่ามัวแต่นั่งจดปริมาณแคลอรีอยู่เลย เรามีวิธีบันทึกที่เจ๋งกว่านั้น นั่นคือการให้คะแนนพฤติกรรมการกินตั้งแต่ 1-10 ที่มีผลต่อน้ำหนักในแต่ละวัน อลัน อรากอน นักโภชนาการเพื่อการออกกำลังกายบอกอย่างนั้น คุณอาจให้คะแนนเพียงครั้งเดียว หรือแบ่งเป็นสามเวลา คือตอนสิบเอ็ดโมงเช้า ห้าโมงเย็น และสี่ทุ่ม แล้วจะรู้เหตุผลว่าทำไมน้ำหนักไม่ลดเสียที ทั้งที่บันทึกปริมาณแคลอรีละเอียดยิบขนาดนั้น

เสียเหงื่อทั้งที ต้องเบิร์นให้เต็มที่

diet (1)

เทรดมิลด์ที่คุณไว้ใจ ว่าบอกปริมาณแคลอรีที่เบิร์นออกไปอย่างแม่นยำ อาจโกงคะแนนคุณก็ได้ สก๊อต เซห์เนิร์ต นักโภชนาการเพื่อการออกกำลังกายไขข้อข้องใจว่า เครื่องออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโออาจอ่านค่าคลาดเคลื่อนประมาณ 2.9 แคลอรีต่อนาที หากคุณประเมินค่าแคลอรีที่เบิร์นออกสูงถึง 125 แคลอรีต่อวัน คงต้องออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นถึง 6 สัปดาห์ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เอ้า วิ่งต่อไปค่ะ

วิธีแก้

ใช้โปรแกรมนับแคลอรีที่ติดมากับเครื่องเพื่อดูว่าคุณออกกำลังกายมากน้อยหรือหนักเบาแค่ไหน เร่งเครื่องเพิ่มอุณหภูมิร่างกาย คุณจะสามารถเบิร์นแคลอรีได้มากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่ใช้เวลาน้อยลง แถมร่างกายยังเผาผลาญไขมันต่อหลังจากเล่นเสร็จอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *