สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังเข้าโปรแกรมไดเอทกันอยู่มักมีปัญหาคล้ายๆกันที่ทำให้ท้อแท้จนอยากอ้วนให้มันรู้แล้วรู้รอดไป แถมน้ำหนักกว่าจะลงได้แต่ละขีดต้องลุ้นแล้วลุ้นอีก มันน่ากลุ้มใจน้อยที่ไหน แต่อย่าพึ่งท้อแท้ใจไปเพราะเราได้สรรหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไว้ให้แล้ว
วันแรกที่เริ่มคือยากที่สุด
หากใครที่กำลังเจอกับปัญหานี้ เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะเกิดความอยากอาหารมาก ๆ ในช่วงแรกของการลดน้ำหนัก เนื่องจากคุณไปจำกัดปริมาณอาหารจึงทำให้แคลอรี่ที่รับเข้าไปน้อยเกินไป ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน Ghrelin หรือฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกหิวออกมามากเกินไป ซึ่งวิธีที่สามารถลดระดับฮอร์โมนนี้ได้ก็คือ การกินมื้อเช้านั่นเอง
ไอเดียมื้อเช้าลดน้ำหนัก
- Strawberry Milkshake สูตรเพิ่มโปรตีน แคลต่ำไฟเบอร์สูง มื้อเช้าที่คนลดอ้วนคู่ควร
- 4 ข้อ กินมื้อเช้าแบบนี้… ไม่เป็นผลดีกับน้ำหนักแน่นอน!
- 5 ไอเท็ม เมนูอาหารที่ควรมีอยู่ในมื้อเช้าของสายเฮลท์ตี้
- 9 ไอเดียมื้อเช้าแบบวัยรุ่นสายฝ. รักสุขภาพ
น้ำหนักคงที่ ภาพลวงตา
สำหรับใครที่เจอปัญหานี้ให้งดออกกำลังกายหนักๆ สัก 1 สัปดาห์ เนื่องจากการวิจัยพบว่าน้ำหนักจะลดช้าลงและคงที่ในเดือนที่ 6 และถึงคุณจะโหมออกกำลังกายมากขนาดไหนน้ำหนักก็อาจไม่ลดลงมาดังใจ แถมยิ่งกลับทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ามากขึ้น ทางที่ดีงดออกกำลังกายหนักสักระยะแล้วเปลี่ยนมาเป็นการวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ ในตอนเช้า พร้อมกับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หันมาทำอะไรใหม่ๆ ดูบ้าง การเปลี่ยนแปลงอย่างแบบนี้เองที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกาย กลับมาสู่ช่วงไดเอทได้อีก
ไอเดียออกกำลังกายตอนเช้า
- 5 ท่าเบิร์น ที่เหมาะจะทำในตอนเช้า
- 6 ท่า ออกกำลังตอนเช้า ช่วยเบิร์นแบบเบาๆ
- A.M. Workout 4 ท่าอย่างง่าย ไว้ใช้ออกกำลังกายช่วงเช้า
- 5 ท่ากำจัดไขมัน สำหรับคนเวลาน้อยหรือรีบๆ ในตอนเช้า
Get Period! ประจำเดือนอยากแต่ของหวาน
อาการนี้เกิดจากในช่วง 14 วันสุดท้ายของประจำเดือนจะอยู่ในช่วงที่เรียกว่า Luteal Phase ที่เป็นช่วงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้น ตรงข้ามฮอร์โมนที่ทำให้อารมณ์ดีอย่างเซโรโทนินหรือฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน และ Dopamine ที่ช่วยต่อสู้กับความเครียดลดลง จึงส่งผลทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด เศร้า เหงาหงอย และอยากกินนั่นกินนี่ตลอดเวลา แถมฮอร์โมนอินซูลินที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ยังไปช่วยกระตุ้นความอยากของคุณให้มีมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ลองดูบทความนี้ หากเพื่อนๆ มีปัญหาเรื่องการกินในช่วงมีประจำเดือน 5 อาหารตัวช่วยตอบคำถาม กินอะไรดี…. เมื่อมีประจำเดือน??
ลองเปลี่ยนมื้อปกติ 3 มื้อใหญ่ๆ แบ่งมาเป็นมื้อเล็ก 4-6 มื้อต่อวันนั้น ก็จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ สามารถป้องกันอาการพองบวม และยังช่วยให้ไม่เกิดอาการเกิดการง่วงซึมและขี้เกียจ อันจะนำไปสู่การกินมากขึ้นอีกด้วย