#อ้วน คำนี้ไม่ขำ! กินอยู่อย่างไรไม่ให้ลงพุง ฉบับวัยรุ่น

0

วัยรุ่นคือช่วงวัย 13-19 ปี เป็นวัยที่ติดเพื่อนและต้องดารอิสระทางความคิด หากกล่าวถึงพฤติกรรมวัยรุ่นในปัจจุบันนับว่าเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากเพราะยุคนี้เทคโนโลยี่ที่สร้างความสะดวกสบาย สร้างความบันเทิงอย่างมหาศาลจึงทำให้วัยรุ่นในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมากเมื่อเทียบกับวัยรุ่นในอดีต

เหตุทำวัยรุ่นอ้วน ข้อมูลจากโครงการสำรวจกิจกรรมทางกายระดับชาติ กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัยพบว่าเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษาของไทยใช้เวลาไปกับสื่อออนไลน์และเทคโนโลยี่มือขึ้น เช่น การเล่นอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ คุยโทรศัพท์การแชต โดยใช้เวลาไปกับสื่อเหล่านี้ถึงวันละ 8-9 ชั่วโมง จึงทำให้ไม่มีเวลาสำหรับการทำกิจกรรมทางกายอื่นๆ

สอดคล้องกับข้อมูลที่คุณหมอวีรพันธ์ได้อธิบายสาเหตุโรคอ้วนในวัยรุ่นไว้ดังต่อไปนี้

ออกกำลังกายน้อยลง

เพราะนอกจากเวลาที่หมดไปกับการเรียนแล้ว การเล่นอินเทอร์เน็ต สมาร์ท ทำให้เด็กในวัยนี้ไม่มีเวลาในการขยับร่างกาย ส่งผลให้เกิดความอ้วนได้ง่าย

วัยรุ่นอ้วน (1)

กินอาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารจานด่วนเป็นหลัก

เนื่องจากเป็นอาหารที่ซื้อได้สะดวกรวดเร็วทันใจ รวมถึงเป็นค่านิยมที่โก้เก๋ในสังคม ส่งผลให้ร่างกายได้รับไขมันนำตาลและพลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย

dv1897014

สำหรับวัยรุ่น เทคนิคป้องกันความอ้วนคือ “การออกกำลังกาย” ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบใดก็ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานส่วนเกินเพื่อช่วยป้องกันความอ้วนได้และยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงป้องกันโรคร้ายต่างๆ ได้

ทั้งนี้การออกกำลังกายให้ได้ผลดีนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ อายุ ชนิดการออกกำลังกายและโรคประจำตัว

นายแพทย์ ชรินทร์ ล่ำซำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายถึงการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนไว้ในบทความเรื่อง คนอ้วนกับการออกกำลังกายของห้องสมุดศิริราชออนไลน์ (Sinra E-Pudlic Library) สรุปได้ดังต่อไปนี้

  • การออกกำลังกายที่จะช่วยให้เกิดการเผาผลาญพลังงานได้นั้นจำเป็นต้องออกกำลังกายให้ได้วันละ 300-400กิโลแคลอรีหรือสัปดาห์ละ 1,000-2,000 กิโลแคลอรี่
  • ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วันโดยใช้เวลาวันละ 40-60 นาที ถ้าเวลาไม่พออาจแบ่งเป็น 2 ช่วงคือช่วงเช้า 20-30นาที และช่วงเย็นอีก 20-30 นาทีและเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ
  • การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาควรเริ่มจากช้าๆเบาๆก่อนแล้วจึงค่อยๆเพิมเวลาและความหนักหน่วงมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการบาดเจ็บ อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาได้หลายรูปแบบรวมไปถึงสามารถออกกำลังกายได้ด้วยการทำงานบ้านหรือทำกิจวัตประจำวันได้ เช่น การเดินก็ควรเดินแบบกระฉับกระเฉงและหนักหน่วง ไม่ใช่การเดินทอดน่องเป็นต้น
  • ควรปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ ฉะนั้นการเลือกรูปแบบของการออกกำลังกายจะต้องเลือกตามที่ตัวเองชอบ ไม่ทันใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โอกาส อุปกรณ์ และสถานที่ที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย

หากเราเตรียมสุขภาพให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่นก็จะไม่ต้องกังวลใจต่ออาการเจ็บป่วยในอนาคตนั่นเอง!

 

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *