แม่ท้อง… ต้องคุมน้ำหนักอย่างไรไม่ให้อ้วน

0

ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์เป็นช่วงนาทีทองของคุณแม่หลายคน  ที่หลอกตัวเองว่าจะต้องกินเผื่อลูก   ในท้องเพราะกลัวลูกจะขาดสารอาหาร  ทำให้คุณแม่น้ำหนักตัวขึ้นพรวดพราดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งกลายเป็นน้ำหนักตัวส่วนเกินของคุณแม่ภายหลังคลอดได้  และยังอาจเป็นที่มาของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ในช่วงตั้งครรภ์อีกด้วยนะคะ

น้ำหนักเท่าไหร่เรียกว่า… ไม่อ้วน?

pregnant weight (2)

+ ไตรมาสแรก : น้ำหนักเพิ่ม 1-2 กิโลกรัม หรืออาจลดได้

ในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ เป็นช่วงที่คุณแม่มักมีอาการแพ้ท้องหรือเบื่ออาหาร หรือบางคนอาจไม่แพ้เลย ซึ่งอาการแพ้ท้องก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักของคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจลดลงได้ ทารกในช่วงนี้ยังไม่ต้องการอาหาร ในปริมาณมากแต่คุณค่าของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ต่อการเจริญเติบโต ในช่วงนี้คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน หากกินไม่ลงก็อาจกินอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่ายแทน แบ่งกินมื้อย่อยๆ และไม่บังคับตัวเองว่าควรกินปริมาณมาก-น้อยเพียงใด เพราะจะทำให้เครียดได้

+ ไตรมาสที่สอง : น้ำหนักเพิ่ม 4 – 5 กิโลกรัม (เพิ่มเดือนละ 1 – 1.5 กิโลกรัม)

คุณแม่มักจะหายจากอาการแพ้ท้องแล้ว ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น ประกอบกับทารกเริ่มโตเร็วขึ้น น้ำหนักตัวจึง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องระมัดระวังการกินจุบจิบและการกินอาหารที่มีไขมันสูงเพราะจะกลายเป็นไขมันสะสม ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป ก็จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย

+ ไตรมาสที่สาม : น้ำหนักเพิ่ม 5 – 6 กิโลกรัม (เพิ่มเดือนละ 2 กิโลกรัม)

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในไตรมาสนี้ มีผลต่อ การคลอดและน้ำหนักตัวแรกคลอดของทารก ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากจะทำให้คุณแม่อ้วนเกินไปทำให้หายใจลำบากขณะเบ่งคลอด และอาจทำให้ลูกตัวใหญ่กว่าช่องเชิงกรานทำให้คลอดยาก แต่ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยอาจทำให้ทารกขาดสารอาหารและไม่แข็งแรงได้

คุมน้ำหนักอย่างไรไม่ให้อ้วน

pregnant weight (1)

ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่ควรควบคุมน้ำหนักด้วย การอดอาหาร แต่ควรลดอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น ขนมหวาน อาหารทอด หันไปเลือกกินผลไม้สดและอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่างแทน การเพิ่มของน้ำหนักที่มากหรือ น้อยเกินไป ต่างก็ทำให้คุณแม่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ในขณะตั้งครรภ์ได้มากขึ้น โดยที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าปกติ อาจทำให้น้ำตาลหรือไขมันในเลือดของแม่สูงกว่าปกติ เกิดเบาหวานหรือภาวะครรภ์เป็นพิษในขณะตั้งครรภ์ได้ เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวกและเหนื่อยง่าย มือบวมเท้าบวม การลดน้ำหนักหลังคลอดลูกก็ทำได้ยาก แต่ถ้าน้ำหนักตัว ของแม่เพิ่มน้อย อาจทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตช้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *