การวางแผนครอบครัว คือ การที่คู่สมรสวางแผนไว้ว่าจะมีบุตรกี่คน จะมีเมื่อไร มีถี่ห่างเท่าไร โดยที่ให้บุตรที่เกิดมานั้นมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ คู่สมรสมีความสามารถที่จะเลี้ยงดูให้ความรักและความเอาใจใส่อย่างทั่วถึง คำถามคือ ควรวางแผนครอบครัวอย่างไร หากพ่อหรือแม่ หรือทั้งคู่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การวางแผนครอบครัวสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
•ผู้ติดเชื้อควรได้รับการประเมินความประสงค์ในการมีบุตรอนามัยเจริญพันธุ์และเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
•หากประสงค์จะตั้งครรภ์
–ควรพูดคุยถึงข้อดีข้อเสียของการตั้งครรภ์ ประเมินความพร้อมและแนะนำตรวจเลือดทั้งสามีภรรยา วิธีการมีบุตรที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสในการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี
–ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการมีบุตรคือมี VL < 50 copies/mLCD4 > 350 cells/mm3 (VL หรือ Viral Load เป็นค่าจำนวนเชื้อไวรัส HIV ที่ตรวจจับได้จากเลือด 1 cc. หรือ 1 มิลลิลิตร ของผู้ป่วย) สุขภาพแข็งแรง ภาวะโภชนาการดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
•การตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้การดำเนินโรคเอชไอวีเลวลงถ้าดูแลกินยาเหมาะสม
ทางเลือกในการทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในครอบครัวผู้ติดเชื้อ กรณีที่ทั้งคู่ไม่มีปัญหาอื่นในการทำให้มีบุตรยาก
กรณี ชายไม่ติดเชื้อ หญิงติดเชื้อ ทางเลือก มีดังนี้
1. การฉีดอสุจิเข้าช่องคลอดด้วยตนเอง
2. การช่วยเจริญพันธุ์โดยฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก
3. มีเพศสัมพันธ์วันไข่ตก กรณีฝ่ายหญิงมีระดับ VL<50copies/mL อาจใช้วิธีอื่นร่วมด้วย ได้แก่ การใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันก่อนและหลังสัมผัสแก่ฝ่ายชาย, การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
กรณี ชายติดเชื้อ หญิงไม่ติดเชื้อ ทางเลือก มีดังนี้
1. การช่วยเจริญพันธุ์โดยใช้อสุจิบริจาค
2. การช่วยเจริญพันธุ์หลังการล้างอสุจิ
3. มีเพศสัมพันธ์วันไข่ตกกรณีฝ่ายชายมีระดับ VL<50copies/mL อาจใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันก่อนและหลังสัมผัสแก่ฝ่ายหญิงร่วมด้วย
กรณี ชายติดเชื้อ หญิงติดเชื้อ ทางเลือก มีดังนี้
1. การช่วยเจริญพันธุ์หลังการล้างอสุจิ
2. การฉีดอสุจิเข้าช่องคลอดด้วยตนเองในชายที่มีระดับ VL <50copies/mL
3. มีเพศสัมพันธ์วันไข่ตกเมื่อทั้งคู่มีระดับ VL<50copies/mL
ทั้งนี้ หากมารดาติดเชื้อเอชไอวีแล้วไม่ทราบหรือไม่ได้ป้องกัน ทารกมีโอกาสติดเชื้อจากมารดาได้ถึง ร้อยละ แต่หากหญิงตั้งครรภ์ทราบและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนดีแล้ว โอกาสที่ทารกจะติดเชื้อต่ำลงมาก