“ปวดหลัง-ตะคริว” ถือเป็นอาการยอดฮิตที่เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์แทบทุกคน โดยอาการปวดหลังจะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจปวดหลังจนกระทั่งหลังคลอดแล้วนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนเลยทีเดียว แม้จะไม่อันตรายแต่คงดีไม่น้อยถ้าคุณแม่ท้องจะสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้
ปวดหลัง
สาเหตุ : จากการที่กล้ามเนื้อบริเวณหลังถูกดึงรั้งจากมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นตามอายุครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์ แอ่นหลังมากขึ้นเพื่อเพิ่มจุดศูนย์ถ่วง จึงทำให้กล้ามเนื้อที่บริเวณหลังและสะโพกแอ่นตึง
วิธีแก้ไข
- พยายามปรับสมดุลโดยนั่งหรือยืนให้หลังตรง โดยพยายามดึงไหล่ให้กลับมาทางด้านหน้า
- ไม่สวมรองเท้าส้นสูง ควรใส่รองเท้าที่มีส้นไม่เกิน 1–2 นิ้ว เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในช่วงกลางลำตัวและสมดุล
- ช่วยผ่อนคลายโดยการนวดบริเวณหลัง หรือเอนกายในท่านอนตะแคง
- ให้นอนตะแคงซ้าย งอเข่า และวางขาลงบนหมอนข้าง เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น จะช่วยลดอาการปวดหลังของแม่ตั้งครรภ์
- ฝึกท่านั่งให้ถูกต้อง หลังตรง เอน พิงพนักเก้าอี้เล็กน้อยและควรมีเก้าอี้เตี้ยๆ รองรับเท้า ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง รวมถึงไม่ควรนั่งนานๆ รวมถึงยืนนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
- บริหารกล้ามเนื้อเชิงกราน (pelvic tilt exercise) ด้วยท่าโยคะ เช่น ท่าชาณุศีรษะอาสนะ (Janushirasana), ท่ายืดส่วนหลัง (Pascimottanasana), ท่าแมว (Bidalasana), ท่าเมฆขลา
ตะคริว
สาเหตุ : เกิดจากแคลเซียมน้อย หรือขาดความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส รวมถึงการที่เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เนื่องจากการทำงาน หรือการนั่งขดขาในท่าเดินเป็นเวลานาน
วิธีแก้ไข
- ดื่มนมหรือรับประทานแคลเซียมเสริม
- เปลี่ยนท่าบ่อยๆ ขณะนั่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องอยู่ในท่าเดิม
- นอนแตะเเคงซ้ายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเสี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ดีขึ้น
- เมื่อมีอาการ ให้เหยียดขาตรงและกระดกปลายเท้าขึ้นมาทางด้านบนหรือศีรษะ
ทั้งนี้ หากคุณแม่ท้องมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง จนทนไม่ไหว ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ ทางทีดีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดค่ะ