แม่ท้องกินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารตกค้าง

0

สิ่งทีคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและบางครั้งอาจจะกังวลเป็นพิเศษ  นั่นก็คือ  เรื่องการรับประทานอาหาร ซึ่งโดยทั่วไปก็คงเน้นไปที่เรื่องของความสะอาดและประโยชน์เป็นหลัก

ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์  การพิถีพิถันเลือกวัตถุดิบสำหรับนำมาปรุงอาหาร จึงเป็นสิ่งที่ต้องคัดสรรมาเป็นพิเศษตั้งแต่เริ่มต้น   เพื่อให้ได้เมนูที่ปรุงเสร็จใหม่ ปราศจากสารปรุงแต่งอาหาร และสารที่จะตกค้างในร่างกายจนกิดอันตรายต่อแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

แม่ท้องกินอาหารอย่างไร

  • เลือกซื้อพืชผักใบเขียว และสีเหลืองที่ให้เบต้าแคโรทีนสูง เนื่องจากสารนี้มีคุณสมบัติในการทำลายพิษที่ดี
  • หากจะทานหวาน ต้องระวังเรื่องสารให้ความหวานในกลุ่มของขัณฑสกร เพราะสารกลุ่มนี้ หากทานสะสมมากๆ จะผ่านรกเข้าสู่ทารกในครรภ์และมีผลต่อทารกครรภ์ได้
  • หากเป็นไปได้อาหารที่ทานในทุกมื้อ ก็ควรที่จะเป็นอาหารที่ปรุงเอง จากวัตถุดิบที่สด และใหม่ เพราะนำอาหารที่ผ่านการถนอมอาหารอย่างการหมัก หรือดอง ก็อาจจะทำให้ได้รับสารเคมีที่ใช้ในการเก็บถนอมได้
  • เลือกซื้ออาหารสด เช่น ปลา ควรระวังในเรื่องของสารปรอท อย่างปลาดาบ ปลาทูน่า(จะมีสารปรอทสูงกว่าปลาชนิดอื่น) แต่หากอยากที่จะทานปลาทูน่าจริงๆ ก็สามารถสอบถามจากร้านขายปลาที่ไว้ใจได้ ว่าคัดสรรมาเป็นอย่างดีแล้ว
  • งดอาหารกึ่งสำเร็จรูป อย่าง ไส้กรอก กุนเชียง ปลากระป๋อง ต้องระวังให้ดี เพราะอาหารเหล่านี้ อาจมีสารปรุงแต่งอย่างสารไนเทรต (nitrates) และไนไทรต์ (nitrites) ดินประสิว
  • ควรล้างด้วยน้ำนานๆ สำหรับผักและผลไม้สด อย่าง แตงกวา มะเขือเทศ มะเขือ แอปเปิ้ล และใช้มือถูขัดเบาๆ เพื่อความแน่ใจในเรื่องของความสะอาดจากสารเคมี   อาจใช้น้ำยาล้างผักโดยเฉพาะก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
  • เลือกผักผลไม้ตามฤดูกาล เพื่อหลีกเลี่ยงพืชผักที่ปลูกโดยใช้กรรมวิธีทางเคมีบังคับการเจริญเติบโต
  • เลือกซื้อผักผลไม้ที่มีตราสัญลักษณ์อาหารปลอดภัยจากกระทรวงเกษตรฯ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่จะนำไปปรุงอาหารนั้น ปลอดภัยจากสารเคมีอย่างแน่นอน
  • เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายหลาย ไม่ควรทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน ทั้งนี้เพื่อให้ปริมาณสารพิษหรือสารเคมีที่อาจมีอยู่ในอาหาร ไม่สะสมกันเป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นพิษต่อร่างกาย

สารปรุงแต่งอาหารประเภทที่ไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพร่างกายที่คุณแม่ตั้งสามารถนำมาปรุงในอาหารได้ เพื่อให้เกิดรสชาติ กลิ่น และสี ตัวอย่างเช่น สีธรรมชาติที่นำมาตกแต่งในอาหาร คือ…

สีเขียว  : ที่ได้จากใบเตยหอม พริกเขียว

สีเหลือง : จากขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน  ลูกตาลยี  ไข่แดง  ฟักทอง  ดอกคำฝอย 

สีแดง  : จากดอกระเจี๊ยบ  มะเขือเทศ   พริกแดง ถั่วแดง 

สีน้ำเงิน : จากดอกอัญชัญ

ส่วนรสชาติของอาหารอาจมาจากสารให้รสหวาน  เช่น  น้ำตาลทราย  กลูโคส  แบะแซ สำหรับกลิ่นของอาหารอาจได้มาจากสารแต่งกลิ่นธรรมชาติ เช่น น้ำนมแมว หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่างๆ ผงชูรส  เป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร  มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท  ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง  หรือจากกากน้ำตาล  ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม

หากจำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มรสชาติในอาหาร ควรใช้ในปริมาณประมาณ  1/500-1/800 ส่วนของอาหารหรือประมาณ  1  ช้อนชาต่ออาหาร  10  ถ้วยตวง  และไม่ควรใช้ผงชูรสในการปรุงแต่งในอาหารทารกและสตรีมีครรภ์ค่ะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *