”วัณโรคในเด็ก” วัยซนต่ำกว่า 5 ขวบ เสี่ยงที่สุด!

0

“วัณโรค” เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เราได้ยินกันมานาน โดยโรคนี้ทำให้เกิดปอดอักเสบ และก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจนถึงแก่ชีวิตได้

เหล่าคุณแม่ควรจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคนี้ไว้นะคะ เพราะผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดได้ง่ายที่สุด คือ กลุ่มเด็กวัยซนที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปีค่ะ

Asian Little Chinese Girl Wearing a Protective Mask

“วัณโรค” (Tuberculosis)

หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า มัยโคแบคทีเรียม ทิวเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะติดจากผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นวัณโรค ทางการไอ จาม หรือหายใจรดกัน โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ที่ร่างกายแข็งแรง หากได้รับเชื้อร่างกายจะควบคุมเชื้อวัณโรคได้ แต่สำหรับเด็กเล็กซึ่งมีภูมิคุ้มกันไม่เท่าผู้ใหญ่ หรือขณะที่ได้รับเชื้อมีร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัว ก็จะทำให้ป่วยเป็นวัณโรคได้ง่าย

ผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ส่วนอาการเฉพาะที่ เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หอบ พบได้ประมาณร้อยละ 50 โดยอาการทางปอดอาจไม่เด่นชัดนัก บางรายอาจจะมีก้อนที่คอจากต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น หรือท้องใหญ่ขึ้นจากการที่มีตับหรือม้ามโต

สำหรับการป้องกันโรคนี้ คือ หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปตามแหล่งชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล หากบุคคลใกล้ชิดในบ้านป่วยเป็นวัณโรค ต้องพาเด็กในบ้านหรือเด็กที่สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยวัณโรค ว่าจะมีอาการหรือไม่ เพราะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จะรับเชื้อได้ง่าย แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัย รักษาและให้ยาป้องกันโรคได้ทันท่วงที จริงๆ แล้วเพื่อความปลอดภัย หากสมาชิกในบ้านเป็นวัณโรค ก็ควรพาเจ้าตัวเล็กไปเช็คร่างกายกับคุณหมอ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อ เพราะโรคนี้เด็กเล็กติดเชื้อได้ง่ายมาก)

การให้วัคซีนบีซีจี (BCG) ตั้งแต่แรกเกิด แม้จะสามารถช่วยป้องกันวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง แต่ยังมีโอกาสเป็นวัณโรคได้

นอกจากนี้ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดี โดยให้ยาร่วมกันหลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดอัตราการดื้อยา ที่สำคัญคือต้องกินยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและมีวิตามินบีสูง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *