เจ้าตัวเล็ก “ท้องเสีย” เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอ!!

0

ท้องเสีย” เป็นอาการเจ็บป่วยยอดนิยมที่คนทุกเพศทุกวัยต้องเคยประสบพบเจอ แม้จะเป็นโรคที่เหมือนจะไม่หนักหนาสาหัสอะไร แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะ “โรคท้องเสีย” หรือ “อุจจาระร่วงเฉียบพลัน” ได้ชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและการตายในเด็กทั่วโลกเลยล่ะค่ะ!

ท้องเสีย, ท้องร่วง, ท้องเดิน หรืออุจจารระร่วง

การถ่ายอุจจาระเหลวปนน้ำหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน หรือถ่ายเป็นมูกเลือดแม้เพียง 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำปริมาณมากๆ เพียงครั้งเดียวต่อวัน ส่วนโรคท้องเสียเฉียบพลัน หมายถึง อุจจาระร่วงที่มีอาการถ่ายผิดปกตินานไม่เกิน 2 สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่มักจะหายภายใน 7 วัน

อาการท้องเสียที่พบในเด็กมีหลายสาเหตุ แต่เกือบทั้งหมดเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและจากสารพิษของแบคทีเรีย โดยสาเหตุหลักคือการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงเฉียบพลันมีหลายชนิด

แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัสโรต้า!

Mother watching son use toilet

โรคท้องเสียในเด็กส่วนใหญ่ เด็กจะมีอาการดีขึ้นภายในเวลา 3 – 5 วันหลังการรักษา กล่าวคือ ไข้ลดลง อาเจียนลดลง ลักษณะอุจจาระจะค่อยๆ มีเนื้อเพิ่มมากขึ้น โดยปกติไม่เกิน 7 วันมักจะหาย นอกจากมีภาวะอื่นแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงหรือภาวะขาดน้ำที่รุนแรงที่อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้

คำถามที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อยากรู้ คือ เมื่อไหร่ที่ควรพาเจ้าตัวซนไปหาหมอ?

ทั้งนี้เมื่อมีอาการใดอาการหนึ่งก็พาเด็กไปพบแพทย์ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ รวมถึงควรพาเด็กเล็กไปพบแพทย์เมื่อมีอาการ

  • ท้องเสียนานเกิน 3 วัน
  • มีอาการปวดท้องอย่างมาก
  • มีไข้สูง
  • มีเลือดในอุจาระหรืออุจาระดำเหมือนถ่าน
  • อาเจียนมาก ไม่สามารถรับประทานน้ำเกลือแร่ทดแทนได้

ควรรีบพาเด็กพบแพทย์ทันทีเมื่อเด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น เยื้อบุช่องปากและลิ้นแห้ง กระหายน้ำมาก ปัสสาวะออกน้อย ร้องไห้ไม่มีน้ำตา กระบอกตาลึกโบ๋ ผิวหนังเย็น ชีพจรเต้นเร็ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *