พฤติกรรม “ดูดนิ้วมือ-กัดเล็บ-ถอนผม” ของลูก แก้ไขยังไงดี?

0

การกัดเล็บ ดูดนิ้ว หรือถอนผม มักเกิดกับเด็กที่มีความกังวล เหงา และรู้สึกว่าต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ นิ้วและผมเป็นสิ่งใกล้ตัว ที่เด็กใช้เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์ เด็กจะทำบ่อยๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน ปล่อยทิ้งไว้ย่อมไม่ดีแน่ แล้วอย่างนี้พ่อแม่จะแก้ไขพฤติกรรมของลูกได้มั้ยนะ??

ข้อมูลจากหนังสือ คู่มือเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ โดย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สรุกใจความสำคัญได้ว่า เด็กบางคนเครียดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่เป็นไปตามพัฒนาการของเขาหรือของครอบครัว เช่น แม่มีน้อง ซึ่งตรงนี้เด็กอาจแสดงออกด้วยกัดเล็บ แต่พอช่วงวิกฤตผ่านพ้นไปแล้ว เด็กสามารถปรับตัวปรับใจได้แล้วอาการก็จะหายไปเอง จะมีเด็กเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ยังกัดเล็บอยู่ จนติดเป็นนิสัย ตรงนี้เราจะยังไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรค แต่เรียกว่าเป็นการแสดงออกของความรู้สึก

การป้องกันหรือแก้ไขพฤติกรรม “ดูดนิ้วมือ-กัดเล็บ-ถอนผม” ของลูก

%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%9a

  1. การลงโทษ ดุว่า หรือห้ามมักไม่ได้ผล เพราะการย้ำยิ่งทำให้เด็กเครียดมากขึ้น กระตุ้นให้ทำมากขึ้นไปอีก
  2. หมั่นสังเกตว่าลูกเหงาหรือเปล่า เบื่อหรือเปล่า เวลาที่ลูกลับตาเรา แล้วแก้โดยหากิจกรรมให้ลูกทำ
  3. ควรหาสาเหตุว่าลูกมีเรื่องที่กำลังกังวลอยู่ หรือไม่ ด้วยการชวนลูกพูดคุยและหาทางแก้ปัญหาความกังวลนั้นๆ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ลูกเหงา เช่น ลูกคนเดียว พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ ก็ควรหาเวลามาใกล้ชิดกับลูก
  4. หากิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้มือ ทำให้ลูกไม่ว่าง เช่น การวาดรูประบายสี เล่นตัวต่อ ขี่สามล้อ เล่นเกมให้ลูกซ่อนมือแล้วพ่อแม่ทายว่า มืออยู่ไหน ให้เด็กถือตะกร้ารับลูกเทนนิส เป็นต้น
  5. ค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของลูกโดยใช้แรงจูงใจทางบวก เช่น ให้สะสมดาว สติกเกอร์หรือคะแนน เหมือนที่คุณครูทำ โดยบอกว่า ถ้าวันนี้ลูกไม่กัดเล็บเลย จะได้หนึ่งดาว หรือใช้สติ๊กเกอร์ติดไว้ที่เล็บ โดยให้เด็กเลือกเองว่าจะใช้รูปไหนแปะดี หรืออาจหลอกล่อโดยให้เด็กเพ็นท์เล็บสวยๆ เด็กมักจะไม่อยากกัดเล็บเพราะกลัวภาพที่เพ็นท์หลุดออกมา

การทะเลาะไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในครอบครัว ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่มั่นคงและเกิดความกังวลได้เช่นกัน หากคิดว่าลูกเครียดจากสัมพันธภาพในบ้านไม่ดี เช่น มีการทะเลาะตบตีในบ้าน ต้องแก้ไขที่พ่อแม่ก่อน ถ้าเกิดจากความเครียดที่แก้ไขไม่ได้ เช่น แม่มีน้องใหม่ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจแสดงความรักความใกล้ชิดกับลูกคนโตให้เหมือนเดิม หรืออย่างน้อยก็ไม่ให้ลูกคนโต รู้สึกแย่จนเกินไป

สรุปง่ายๆ คือ พยายามเบี่ยงเบนลูกออกจากพฤติกรรม “ดูดนิ้วมือ-กัดเล็บ-ถอนผม” แล้วจัดกิจกรรมอย่างอื่นให้เจ้าตัวซนทำ โดยใช้แรงจูงใจทางบวกช่วยกระตุ้นค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *