รักลูก.. อย่ากอด กับการลดอุบัติเหตุในเด็ก

0

หลายๆ  คนคงได้พอได้ยินการรณรงค์ในแคมเปนจ์ …รักลูก  อย่ากอด  ซึ่งเป็นการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุและความสูยเสียในเด็กเล็กจากการโดยสารรถอย่างผิดวิธีคุณๆ  โดยศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก    ยิ่งใกล้เทศกาลแห่งการเดินทางเข้ามาทุกทีแล้ว   คุณทราบไหมคะว่า…เด็กไทยต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรถึงปีละกว่า 700-900  คน   โดยสาเหตุหลักก็มาจากการโดยสารรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้นแหละค่ะ

โดยเฉพาะรถยนต์    หากมีการเบรกอย่างกะทันหัน ….. หักเลี้ยวอย่างฉับพลัน….หรือมีการชนอย่างรุนแรง  สิ่งที่เกิดขึ้นในทันทีก็คือ …ร่างของเด็กๆจะหลุดลอยจากที่นั่ง  ไปอัดกับแผงคอนโซนหน้ารถ   ไปปะทะกับประตูรถ แล้วลอยละลิ่วออกนอกรถ หรือ  พุ่งทะลุกระจกหน้ารถ  แล้วกระเด็นออกไปนอกรถ

ด้วยสรีระอันบอบบางของเด็กๆ จึงอาจทำให้…กระดูกซี่โครง,แขน,ขา แตกหัก เยื่อหุ้มปอด,เยื่อหุ้มหัวใจ  รวมทั้งอวัยวะภายในต้องชอกช้ำ หรือ ฉีกขาด   โดยเฉพาะศีรษะของเด็กๆ ที่ต้องกระแทกของแข็งอย่างรุนแรง ทำให้ และ ชั้นมีเลือดคั่งในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความพิการ หรือ เสียชีวิต

รักลูกอย่ากอด

การใช้เข็มขัดนิรภัย  และ  ถุงลมนิรภัยช่วยปกป้องชีวิตเด็กได้หรือไม่?

การนั่งที่นั่งปกติและคาดเข็มขัดนิรภัยจใช้ได้ผลกับผู้โดยสารที่มีอายุเกิน 9 ปีขึ้นไป หรือ  มีความสูงตั้งแต่  140 ซ.ม. ขึ้นไป…เท่านั้น มิฉะนั้นมันก็อาจกลายเป็นตัวการทำอันตรายต่อเด็กๆอย่างรุนแรงและ  คาดไม่ถึงแต่ภาพที่เรามักพบเห็นตามท้องถนน หากมองเข้าไปในรถก็คือ ผู้ใหญ่ที่อุ้มเด็กบนตัก แล้วนั่งด้านหน้า ที่นั่งข้างคนขับ   เพราะเข้าใจผิดๆ ว่าอ้อมกอดสามารถปกป้องลูกน้อยจากอุบัติเหตุได้

อันตรายจากการอุ้มเด็กคาดเข็ดขัดนิรภัย

  • น้ำหนักของพ่อแม่ก็มักจะไปอัดทับลูก เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ลูกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • แม้ผู้ใหญ่ที่กอดเด็กไว้จะคาดเข็มขัดนิรภัยแน่นหนา แต่แรงปะทะแรงเหวี่ยงมันมหาศาลเกินกว่าที่จะช่วยอะไรได้โอกาสที่ลูกจะหลุดจากมือแล้วพุ่งทะลุกระจกออกไปนอกรถจึงมีสูง
  • หากสายเข็มขัดแทนที่จะพาดบนหน้าตัก และแนบบริเวณเชิงกรานแต่กลับมารัดตรงท้องน้อย   ส่วนเส้นที่ควรพาดที่หน้าอกและไหล่ก็กลับมารัดที่ลำคอของเด็ก อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ท่ออากาศหายใจที่บริเวณคอได้
  • หากรถเบรกอย่างกะทันหัน หรือ มีการชน เข็มขัดจะทำอันตรายแก่ ไขสันหลัง ,อวัยวะภายในช่องท้องของเด็ก
  • ได้รับอันตรายโดยตรงจากการถุงลมนิรภัย เนื่องจากการพองตัวของถุงลมนิรภัยนั้นมีความเร็วถึง 320 กม. / ชั่วโมง   ความรุนแรงมากมายขนาดนี้จึงเป็นอันตรายต่อเด็กๆอย่างยิ่ง

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหันมาให้ความสำคัญกับ “เบาะนิรภัยสำหรับเด็ก” กันดีกว่าค่ะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *