กรี๊ด! ลูกพูดคำหยาบต้องกำราบอย่างไร

0

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลสำรวจจากโพลสำนักหนึ่งเผยข้อมูลว่า 86% ของพ่อแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 2-12 ขวบยอมรับว่าลูกของพวกเขาพูดคำหยาบมากกว่าตอนที่พวกเขาเป็นเด็ก 54% ของผู้ปกครองจากกลุ่มตัวอย่าง

นักวิจัยเชื่อว่าการสบถเป็นการระบายความเครียดอย่างหนึ่งคล้ายการร้องไห้ แต่ความหยาบคายไม่ใช่เรื่องดี เรามาดูสาเหตุหรือที่มาของการใช้คำหยาบของลูกกันสิคะ

—เลียบแบบทีวี

Watching television

มีความเป็นไปได้สูงว่าเจ้าตัวเล็กอาจจะได้ยินคำหยาบมาจากทีวี   อินเตอร์เน็ต การ์ตูน ฯลฯ    เมื่อคุณได้ยินลูกพูดคำหยาบ ให้ถามเขาอย่างใจเย็นว่าไปได้ยินมาจากไหน เด็ก ๆ ก็เหมือนผ้าขาว ที่ซึบซับทุกอย่างที่ได้ยินหรือได้เห็นมา เมื่อคุณรู้ที่มาของคำหยาบแล้ว พยายามจำกัดเวลาที่ลูกใช้อยู่กับมัน เช่น  จำกัดรายการทีวี  การเล่นอินเตอร์เน็ต คุณอาจจะใส่ระบบป้องกันเด็กในคอมพิวเตอร์เป็นมาตรการเสริมด้วยก็ได้  หรือทางที่ดีควรอยู่กับลูกเพื่ออธิบายสิ่งที่ได้ฟังกับลูกในขณะนั้น

—ผู้ใหญ่ก็พูด

กรี๊ด! ลูกพูดคำหยาบต้องกำราบอย่างไร (3)

ยอมรับความจริงเสียเถอะ ผู้ใหญ่ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ต้องมีหลุดคำหยาบออกมาบ้าง บอกลูกตรง ๆ ว่า “คุณพ่อ คุณแม่ก็เคยพูดคำหยาบ แต่เราจะหยุดพูด ฉะนั้นลูกก็ต้องเลิกพูดด้วยนะคะ” คุณคือแบบอย่างของลูก ฉะนั้นพยายามอย่าพูดคำหยาบต่อหน้าลูก ไม่เช่นนั้นลูกก็จะเลียนแบบ

เมื่อรู้สาเหตุแล้วเราก็คงต้องหยุดที่ตัวเรา และสร้างกติกาหยุดเจ้าตัวน้อย ไม่ให้ติดนิสัยหยาบคายไปจนโตค่ะ

  • —ใครพูด แพ้!

สอนลูกให้เข้าใจเกี่ยวกับการพูดคำหยาบและผลที่จะตามมา ตั้งกฎ “ห้ามพูดคำหยาบ” ใครถูกจับได้ว่าพูดคำหยาบ คนนั้นจะโดนลงโทษ สำหรับเด็กเล็ก คุณอาจลงโทษโดยการให้นั่งนิ่ง ๆ คนเดียว หรือไม่ให้ออกไปเล่นหนึ่งวัน สำหรับเด็กโต อาจเป็นการให้ทำงานบ้านเพิ่ม งดเล่นเกมหรือมือถือ ถ้าลูกมีค่าขนม คุณอาจจะตั้งกระปุกกลางไว้ในบ้าน คนที่ถูกจับได้ว่าพูดคำหยาบต้องหยอดกระปุกครั้งละ 10 บาท สุดท้ายก็เอาเงินนั้นไปบริจาค

  • —อย่าแก้ปัญหาด้วยไม้เรียว

การตีเด็กหรือทำโทษทางร่างกาย จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง เพราะเป็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการก้าวร้าวไม่ต่างจากการพูดคำหยาบ  ฉะนั้นควรคุยกับลูกดี ๆ อธิบายให้เขาเข้าใจว่าทำไมการพูดคำหยาบจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม

  • —จับเข่าคุย

จับลูกนั่งคุย แล้วถามเขาว่ารู้ความหมายของคำที่พูดออกมาหรือไม่ เจ้าตัวเล็กอาจจะแค่พูดตามคนอื่น เพราะ “ใคร ๆ เขาก็พูดกัน” แต่ไม่รู้ความหมายของคำสักนิด เด็กที่โตหน่อยอาจจะรู้ความหมาย คุณต้องรู้ว่าลูกรู้มากน้อยแค่ไหน ถึงจะอบรมได้ตรงจุด  สอนลูกว่าคำหยาบเป็นสิ่งไม่ดี อธิบายให้เขาฟังว่าคำหยาบทำให้คนฟังรู้สึกยังไง สอนเรื่อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ให้ลูกเข้าใจว่า ถ้ามีคนมาพูดหยาบคายกับเขา เขาก็คงรู้สึกไม่ชอบเหมือนกัน

  • ขู่บ้างก็ได้ผลนะ

พ่อแม่สมัยก่อนมักชอบหลอกให้ลูกกลัวเพื่อให้ลูกทำบางอย่าง เช่น  อาบน้ำ หรือไปหาหมอฟัน เพราะมันได้ผลน่ะสิ! เราไม่ได้บอกให้คุณหลอกลูกให้กลัวหัวหด แต่อธิบายถึงสิ่งที่แย่ที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นกับเขาถ้าเขายังขืนพูดคำหยาบต่อไป เช่น เขาจะดูเป็นคนไม่ดี และไม่มีใครคบ เด็ก ๆ มักกลัวการไม่มีเพื่อน วิธีนี้มักได้ผลเสมอ

  • —ทำข้อตกลงกับผู้ใหญ่  

คุณไม่ได้เป็นผู้ใหญ่เพียงคนเดียวที่อยู่กับลูก พยายามอย่าให้ญาติ หรือใครก็ตามที่อยู่ใกล้ลูกพูดคำหยาบ แม้แต่คุณตาหรือคุณยาย ซึ่งบางครั้งก็เผลอพูดเหมือนกัน ขอร้องให้พวกเขาไม่พูดคำหยาบต่อหน้าเด็ก ๆ เพื่อช่วยหยุดพฤติกรรมของลูก

 

พยายามทำตามกฎที่ตั้งไว้ทั้งหมดให้ได้ มิเช่นนั้นสิ่งที่คุณพยายามมาทั้งหมดก็จะสูญเปล่า และแก้นิสัยลูกไม่ได้  การทำให้บ้านเป็นเขตปลอดคำหยาบไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แค่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนหน่อยเท่านั้นเองค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *