ลด “โซเดียม” ในอาหาร ช่วยครอบครัวห่างไกลโรคเรื้อรัง

0

อาหารรสหวาน มัน เค็ม ถือเป็นรสชาติที่ถูกปากคนยุคนี้ ในส่วนของรสเค็มนั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำการบริโภคเกลือ โซเดียมไม่เกิน 5 กรัม ต่อวัน แต่คนไทยค่อนข้างกินเค็มเกินปริมาณที่กำหนด ซึ่งผลที่ตามมาคือปัญหาสุขภาพ เนื่องจากการบริโภคโซเดียมมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น

“เกลือ” คือสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า “โซเดียมคลอไรด์” (Sodium Chloride) คำว่า เกลือและโซเดียมจึงมักใช้แทนซึ่งกันและกัน จนทำ ให้หลายคนคิดว่า เกลือกับโซเดียมคือสารเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น

เพราะเกลือคือสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ที่มีองค์ประกอบของโซเดียมร้อยละ 40 และคลอไรด์ร้อยละ 60 โดยนํ้าหนัก ดังนั้นการพูดถึงเกลือ 1 กรัม หมายถึงโซเดียม 0.4 กรัมนั่นเอง

reduce-sodium-in-food-help-families-distant-chronic-diseases

โซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่จะได้มาจากเกลือที่ใช้ในการประกอบอาหาร อย่างไรก็ตามในประเทศไทยนอกจากการใช้เกลือในรูปของเกลือแกงที่คนทั่วไปรู้จักแล้ว เกลือยังมีอยู่มากในเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติเค็ม เช่น นํ้าปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีในอาหารที่ไม่ได้มีรสชาติเค็ม เช่น โซเดียมที่อยู่ในโมโนโซเดียมกลูตาเมท (ผงชูรส) โซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู) เป็นต้น

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า…

ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมสูงประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน คือ เป็น 2 เท่าจากที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ถือเป็นประเทศที่กินเค็มเป็นอันดับต้นๆ เทียบกับเกาหลี ญี่ปุ่น เพราะมีการกินอาหารที่ต้องจิ้มน้ำจิ้มเยอะ

ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า…

การที่ร่างกายได้รับโซเดียมสูงจะมีผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย โดยเฉพาะไตที่ทำหน้าที่ขับโซเดียมต้องทำงานหนัก และเกิดไตเสื่อม เมื่อเป็นมากต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง หรือฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ย 240,000 บาทต่อคนต่อปี ไม่รวมค่ายา และค่าใช้จ่ายทางอ้อม

ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ปี 2558 ใช้งบประมาณในการล้างไต 5,247 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 6,318 ล้านบาท ในปี 2559 ส่วนสิทธิประกันสังคมรวมกับข้าราชการต้องใช้ปีละ 10,000 ล้านบาท รวมเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 15,000 ล้านบาท โรคหัวใจและหลอดเลือด ปีละ 78,976 ล้านบาท โรคเบาหวาน 24,489 ล้านบาท

ดังนั้นเพื่อลดหรือเลี่ยงการได้รับโซเดียมที่มาก ผู้รับหน้าที่เตรียมอาหารในบ้านจึงควรเลือกประกอบอาหารด้วยตัวเอง และหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการแปรรูปต่างๆ อาหารรสจัดหรือที่มีการปรุงรสมากค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *