สถาบันครอบครัว เป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่ต้องเตรียมรับมือกับการแสดงตัวตนตามเพศสภาพของลูกๆ อย่ามัวแต่ตั้งคำถามกับสิ่งที่ลูกเป็น หรือพยายามทำทุกวิถีทาง เช่น ใช้คำพูดแรงๆ พูดขัดลูก เพื่อเปลี่ยนให้ลูกเป็นในสิ่งที่ต้องการ พ่อแม่ส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าการขัดลูกหรือพูดให้รู้สึกลบ ส่งผลกระทบต่อเด็ก LGBTQ+ จนอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
โลกที่ก้าวล้ำด้วยวิทยาการ ที่ผ่านมาสังคมได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ เพียง หญิง และ ชาย แต่ยังมีกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก ที่เรียกว่า LGBTQ+ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ หรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง โดย LGBTQ+ ย่อมาจาก
L – Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
G – Gay กลุ่มชายรักชาย
B – Bisexual กลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
T – Transgender กลุ่มคนข้ามเพศจาก ชายเป็นเพศหญิง หรือ เพศหญิงเป็นเพศชาย
Q – Queer กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศ และความรัก
การเลี้ยงดูเด็ก LGBTQ+ ต้องอาศัยความเข้าใจและการเปิดใจ เรื่องเพศและรสนิยมความชอบ เป็นเรื่องทางธรรมชาติที่มีกรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยส่งเสริม ไม่ใช่ความผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจ เมื่อลูกเป็น LGBTQ+ สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การต่อว่า การพยายามทำให้ลูกเปลี่ยนตัวตน หรือการพาไปหาหมอ แต่คือการทำความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น มองในตัวตนของเขามากกว่าเพศสภาพหรือความชอบ
การขัดลูก ด้วยการพูดให้รู้กลัว หรือ ทำให้เด็ก LGBTQ+ เกิดอารมณ์ด้านลบอื่นๆ เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่หลายคนนิยมใช้ เพราะขาดความเข้าใจและคิดว่าสามารถหยุดเด็ก LGBTQ+ ให้เลิกทำสิ่งที่ทำอยู่ได้ทันที เช่น การพูดว่า “เป็นเด็กชายทำไมใส่กระโปรง” “แต่งตัวประหลาด เดี๋ยวก็ไม่มีใครคบหรอก” “ถ้าจะเป็น ตุ๊ด ก็ออกจากบ้านไปเลย” “โตไปใครเขาจะจริงใจ ส่วนมากก็เขามาหลอกแกทั้งนั้นแหละ” เป็นต้น พ่อแม่ผู้ปกครองอาจะลืมคิดไปว่า การห้ามเพื่อหยุดด้วยวิธีเหล่านี้มีโอกาสเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา อาทิ
– เด็กอาจเกิดความกังวลและปฏิเสธ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั่น หรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่างสุดโต่งไปจนถึงวันผู้ใหญ่ เช่น เกิดการสับสนในทางตัวต้องเลือกระหว่างถูกใจครอบครัว กับ เป็นตัวของตัวเอง
– เป็นการสกัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เช่น หากเด็กๆ อยากแต่งกายอิสระตามใจตัวเอง อาจจะเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการออกแบบเครื่องแต่งกาย จนกลายเป็นอาชีพได้ในอนาคต หรือสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมเสริมทักษะอย่าง การร้อง การเต้น การแสดง ฯลฯ เป็นต้น
– ถูกลดทอนความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล เช่น การที่คนเราจะจริงใจต่อกัน ไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ ไม่ว่าจะ LGBTQ+ หรือ ชายหญิง ทุกคนมีสิทธิ์เจอคนทุกรูปแบบเท่ากัน
– เกิดการลดความไว้วางใจในตัวผู้ใหญ่ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รู้สึกปลอดภัย เช่น อย่าดุ อย่าเปรียบเทียบ เขากับใคร อย่าผลักไสไล่ส่ง เพียงแค่เขาเลือกจะเป็นในสิ่งที่เขาเกิดมาเป็น แต่ควรปรับความเข้าใจ ด้วยการรับฟังสิ่งที่เขาพูด สิ่งที่เขารู้สึกอย่างใจเย็นดีกว่า
– การพูดให้เด็กชาว LGBTQ+ รู้สึกลบอาจะส่งผลต่อเนื่องทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะสร้างวินัยในตนเอง แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เลือกทำในสิ่งที่ควรทำและเลือกหยุดในสิ่งที่ควรหยุด โดยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
ในทางกลับกันครอบครัว ควรสอนในสิ่งที่ถูกต้องและใช้เหตุผลที่เหมาะสมในการคุยกับลูก และแสดงความชื่นชมเมื่อเขาทำสิ่งดีๆ ที่น่าชมเชย พร้อมที่จะหาวิธีส่งเสริมพัฒนาให้พวกเขาในแต่ละด้านอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยต่อไป