สำรวจตัวเอง คุณเลี้ยงลูกผิดวิธีหรือเปล่า?

0

ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ก่อปัญหาสังคมจำนวนไม่น้อย เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาดของครอบครัว เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาผิดๆ จึงเติบโตมาด้วยสภาพจิตใจที่ไม่สมบูรณ์หรือผิดปกติ จึงง่ายที่จะก่อความรุนแรง กระทำผิดกฎหมาย หรือก่ออาชญากรรมขึ้น

ว่าแล้วลองสำรวจตัวเองสิคะ ว่าการเลี้ยงลูกของคุณเป็นอย่างไร?

explore-yourself-are-you-raising-your-baby-the-wrong-way

วิธีการเลี้ยงลูกอาจส่งผลต่อลักษณ์นิสัยและสภาพจิตใจของเด็กได้

  1. พ่อแม่ที่ไม่ใส่ใจให้ความรักแก่ลูก เด็กจะขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นคงทางใจ แนวโน้มมีอารมณ์อ่อนไหว
  2. พ่อแม่ที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง จะส่งผลให้เด็กทำอะไรไม่เป็น ขาดความรับผิดชอบ แก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้
  3. พ่อแม่ที่ไม่ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย เด็กจะเอาแต่ใจตัวเอง มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย เครียดง่าย ระงับอารมณ์ไม่ได้ มีแนวโน้มก่อความรุนแรง
  4. พ่อแม่ที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นกับเด็กอื่น เมื่อโตขึ้นเด็กจะเข้าสังคมยาก ไม่รู้จักกติกาสังคม ไม่รู้จักการแพ้ ชนะ และอภัย
  5. พ่อแม่ที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกรู้จักการปรับตัว จะกลายเป็นคนขาดความพยายาม ไม่อดทน ท้อถอยเมื่อเผชิญปัญหา
  6. พ่อแม่ที่ไม่ได้ฝึกให้ลูกรู้จักการให้ การแบ่งปัน เด็กจะเป็นคนเห็นแก่ตัว ใจคอคับแคบ เข้ากับคนอื่นยาก

พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า…

หลักการเลี้ยงลูกให้ดีต้องเน้น 2 เรื่องหลัก คือ ความสัมพันธ์ครอบครัว และการสร้างกฎระเบียบในบ้านต้องชัดเจน ลดการบ่น เมื่อลูกทำไม่ถูกต้อง ให้เลี่ยงการใช้คำพูดเชิงตำหนิ เช่น ทำไมเธอถึงเป็นแบบนี้ แต่ควรใช้คำพูดที่แสดงความห่วงใยแทน เด็กจะรู้สึกว่าพ่อแม่รักใส่ใจ และหันมาพิจารณาทางเลือกที่พ่อแม่แนะนำ

ทั้งนี้อารมณ์และพฤติกรรมของเด็กเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งจากการเลี้ยงดู และปัจจัยของตัวเด็กเองซึ่งจะมีนิสัยติดตัวมาตั้งแต่เกิด 4 ลักษณะ ได้แก่

  1. เด็กเลี้ยงง่าย มีร้อยละ 40 เด็กกลุ่มนี้จะมองโลกในแง่ดี อารมณ์ดี
  2. เด็กขี้กังวล ปรับตัวช้า พบร้อยละ 15 เด็กกลุ่มนี้ปรับตัวได้ช้ามาก
  3. เด็กเลี้ยงยากพบร้อยละ 15 มักจะหงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง
  4. ลักษณะผสมผสานที่กล่าวมาพบได้ร้อยละ 30

แต่ไม่ว่าเด็กจะมีลักษณะนิสัยติดตัวแต่เกิดมาอย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจ ให้เวลาดูแลลูกอย่างเข้าอกเข้าใจ เด็กจะถูกหล่อหลอมให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในช่วงชีวิตต่อมา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *