“มะเร็ง” (Cancer) ถือเป็นโรคร้ายพบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดย 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย และมีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่อยากให้สมาชิกในครอบครัวเสี่ยงกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มาป้องกันโรคนี้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกินกันค่ะ
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจสรุปความได้ว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟูดต่างๆ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ และเนื้อสัตว์แปรรูป ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรค อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย การมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ตลอดจนมีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ เป็นต้น
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ นอกจากการตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหาความผิดปกติเบื้องต้นก่อนโรคจะลุกลามกลายเป็นมะเร็งแล้ว การปรับพฤติกรรมการกินก็ถือเป็นวิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สำคัญและช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
5 ทริคป้องกัน “มะเร็งลำไส้” ด้วยการกิน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไหม้เกรียม รวมถึงอาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งมีสารก่อมะเร็ง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมันและเนื้อแดง รวมถึงเนื้อสัตว์ที่ผ่านขบวนการปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักและผลไม้หลากชนิดหลากสี เช่น แครอท ผักใบเขียว ฟักทองกินอาหารไขมันต่ำ เส้นใยสูง และเน้นอาหารสุขภาพ น้ำตาลต่ำ เกลือต่ำ เพื่อลดไขมันสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดสารพิษในลำไส้
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารเสริมจุลินทรีย์สุขภาพโปรไบโอติก เช่น Combif AR เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในทางเดินอาหาร โดยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีปริมาณที่มากพอจะทำให้จุลินทรีย์ร้ายไม่สามารถยึดเกาะกับผนังลำไส้ได้ จึงถูกขับออกไปทางอุจจาระ และยังสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้ และยับยั้งจุลินทรีย์ร้ายไม่ให้ก่อโรคอีกด้วย
ที่สำคัญควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา อย่าปล่อยให้อุจจาระเก่าตกค้างเป็นมลพิษนะคะ