3 วิธีปรับสมดุลชีวิตตัวเองก่อนดูแลคนที่คุณรัก

0

สภาพสังคมทุกวันนี้  คนในครอบครัวล้วนแล้วแต่มีภาระหน้าที่ภายนอกที่ต้องดูแลรับผิดชอบ  แต่เมื่อต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวแล้ว  การเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกันก็เป็นเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้  หลายคนตั้งคำถามว่าเราควรจัดการอย่างไรกับอะไร  โดยไม่ต้องมองวิธีการที่ต้องจัดการดูแลต้องเองก่อน  วันนี้แม่นุ่มมีเคล็ดลับง่ายๆ ในการปรับสมดุลให้ชีวิตของตัวคุณเองให้พร้อม  และจึงตามมาด้วยพลังกายพลังใจที่พร้อมจะดูแลคนอื่นๆ ต่อไปมาฝากกันค่ะ

  1. รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

family (2)

ก่อนอื่นคงต้องเริ่มจากตัวเองก่อน การรักษาสุขภาพกายและใจของตัวเองให้แข็งแรงย่อมนำมาซึ่งพลังงานในการทำงานและความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจนเฉียบคม

  • สุขภาพกายดูแลได้ไม่ยาก ด้วยเรื่องอาหารการกิน พักผ่อนให้พอ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • สุขภาพใจ ต้องทำให้ตัวเองกระปรี้กระเปร่า มีพลัง มองเหตุการณ์ร้ายเป็นเรื่องขบขัน  เข้าถึงความสวยงามของสิ่งต่างๆ มองอุปสรรคเป็นประสบการณ์ชีวิต
  1. ทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อตนเองหรือผู้อื่น

family (1)

ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม อาชีพที่ทำอยู่ เป็นอาสาสมัคร หรือแม้แต่การทำงานบ้าน เมื่อทำมากเกินไป ก็จะเกิดความไม่สมดุล ลองใช้วิธีประเมินสิ่งที่คุณหวังจากการทำงาน   เพื่อจัดการกับเวลาของคุณและ สร้างเป้าหมายในชีวิต แน่นอนเพื่อหาเลี้ยงชีพ เพื่อให้มีปัจจัยในการซื้อหาสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และแสดงสถานภาพทางสังคม

ลองถามตัวเองดูว่าคุณทำงานเพื่ออะไร?   และได้อะไรจากการทำงานนี้? ถ้ารู้สึกจำเจ ลองเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการทำงาน เช่น เข้าอบรมระยะสั้น  หรืออาสาสมัครพัฒนาโครงการใหม่เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร การทำเช่นนี้ทำให้มีคุณค่าทั้งต่อตนเอง องค์กร และครอบครัว

การจัดสรรงานและแก้ปัญหางาน

  • ควรจัดการทำงานยากๆ เช่น แก้ปัญหาในเวลาที่คุณรู้สึกมีความพร้อมสูงสุดในแต่ละวัน
  • แบ่งงานใหญ่ให้เป็นชิ้นงานย่อย แล้วกำหนดเวลาเสร็จให้กับทุกชิ้นงาน
  • ศึกษาวิธีบริหารเวลาจากคู่มือ หรือจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
  1. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่นระหว่างคนในครอบครัว เพื่อน และผู้ร่วมงาน

family (3)

ความสัมพันธ์ของคนนั้นแต่ละฝ่าย  มักจะต้องอดทนกับการแสดงออกของกันและกัน  แต่สิ่งหนึ่งที่ควรทำเพื่อรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้  คือระลึกถึงสิ่งดีๆ ที่คุณประทับใจหรือสิ่งที่คุณชอบในตัวเขาหรือเธอ จะพบว่ายังมีสิ่งดีมากมายที่ควรค่าแก่การรักษาไว้

  • ลองเปลี่ยนแปลงท่าทีที่เริ่มจะขัดเคืองนั้นเสียใหม่
  • โอนอ่อนให้กันมากขึ้น อาจนัดทานอาหารร่วมกัน เขียนข้อความสั้นๆ สื่อสารกันด้วยสำนวนที่ให้ความรู้สึกดีๆ เป็นต้น
  • ควรหาเวลาพูดคุย และเล่นกับลูกๆ เป็นประจำวันทุกวัน ใส่ใจถามไถ่ว่าวันนี้พวกเขาเจอะเจออะไรมาบ้าง เล่าเรื่องที่ตัวคุณเองประสบมาให้ลูกๆ ฟังแลกเปลี่ยนกัน
  • สร้างความรู้สึกว่า เรามีกันและกันให้หยั่งรากลึกในหัวใจลูกๆ และคนในครอบครัว

 

การใช้ชีวิตให้สมดุลนั้น  นอกจากใส่ใจตนเองแล้วคุณต้องหันคนรอบข้างบ้าง จัดเวลาให้สัมพันธ์กับความต้องการและจำเป็นในชีวิตให้พอเหมาะพอดีอย่างมีสุขค่ะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *