หมั่นสังเกตเพื่อหาทางแก้ไขไม่ให้ลูกเป็น “เด็กเตี้ย” !

0

ปัจจุบันปัญหาการเจริญเติบโตที่พบบ่อยอันดับต้นๆ ในเด็ก คือ “ภาวะตัวเตี้ย” โดยพบความชุกของภาวะโรคเตี้ยอยู่ที่ร้อยละ 1-5 เรียกว่าเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างยิ่ง

คำถามคือ อัตราการเจริญเติบโตของเด็กในช่วงวัยต่างๆ ควรเป็นอย่างไร

แบบไหนที่ควรพาลูกไปพบแพทย์?

ข้อมูลจาก ผศ.พญ.ประไพ เดชคำรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า…

ภาวะเด็กเตี้ยที่เป็นปัญหาด้านการเติบโต หมายถึง เด็กที่เจริญเติบโตช้ากว่าอัตราปกติ ทั้งน้ำหนักและส่วนสูง

%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81-%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2-%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87

วัดว่าลูกเตี้ยหรือไม่ ได้ตามนี้

  1. เด็กแรกเกิด-1 ปี มีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่า 25 ซม./ปี
  2. เด็กอายุ 1-2 ปี มีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่า 12 ซม./ปี
  3. เด็กอายุ 2-3 ปี มีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่า 8 ซม./ปี
  4. อายุ 3 ปี-ก่อนวัยหนุ่มสาว มีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่า 4-7 ซม./ปี โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5 ซม./ปี
  5. ในช่วงเข้าวัยหนุ่มสาว เด็กหญิงมีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่า 7-9 ซม./ปี แต่โดยเฉลี่ย 5 ซม./ต่อปี และเด็กชายเติบโตน้อยกว่า 8-10 ซม./ปี

พ่อแม่ควรสังเกตติดตามอย่างใกล้ชิด หากพบว่าความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติ และทำการรักษา แก้ไข ให้เด็กตัวสูงขึ้น เนื่องจากเด็กตัวสูงมักมีโอกาสที่ดีกว่า เช่น เล่นกีฬาได้ดีกว่า บุคลิกดูดีกว่า และเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มีโอกาสหางานทำได้ง่ายกว่า นอกจากวิธีการวัดส่วนสูงแล้ว ยังมีวิธีสังเกตอื่นๆ ได้แก่ ความสูงของเด็กแตกต่างจากความสูงตามพันธุกรรมของพ่อแม่หรือเด็กมีสัดส่วนร่างกายผิดปกติ เช่น แขนขาสั้นกว่าปกติ หรือลำตัวสั้นกว่าปกติ

เมื่อพาเด็กที่สงสัยว่าเป็นโรคเตี้ยไปพบแพทย์ จะมีการประเมินและตรวจร่างกายเบื้องต้น หากพบความผิดปกติหรือสงสัย จะส่งต่อไปให้แพทย์เฉพาะทางด้านต่อมไร้ท่อตรวจหาสาเหตุความผิดปกติเบื้องต้น และในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต อาจตรวจโดยการกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต เมื่อตรวจพบความผิดปกติของระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโต แพทย์เฉพาะทางด้านต่อมไร้ท่อ จะพิจารณาการรักษาโดยให้ฉีดฮอร์โมนการเจริญเติบโตต่อไป

ไม่อยากให้ลูกมีปมด้อย พ่อแม่ก็ต้องหมั่นสังเกตการณ์เจริญเติบโตของลูกในทุกช่วงวัยนะคะ เพื่อให้เขาเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงเพิ่มโอกาสในด้านต่างๆ เมื่อเป็นผู้ใหญ่ด้วยค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *