ปัญหาของ “เด็กออทิสติก” ในปัจจุบัน คือ การส่งตัวเข้ารับการรักษายังไม่มากเท่าที่ควรหรือล่าช้าเกินไป เนื่องจากเด็กอาจไม่มีลักษณะผิดปกติให้เห็นเมื่อแรกเกิด และเจริญเติบโตเหมือนเด็กทั่วไป โดยมากจะเริ่มเห็นความผิดปกติตั้งแต่อายุ 1-2 ขวบ แต่ก็มีลักษณะบางประการที่บ่งชี้ว่าเบบี๋มีแนวโน้มเป็น “ออทิสติก”
การวินิจฉัยและการรักษา “โรคออทิสติก” ตั้งแต่เบบี๋อายุยังน้อย จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการของเจ้าตัวเล็ก โดยลักษณะอาการที่มักพบในเด็กออทิสติก มีดังนี้
อายุ 2-3 เดือน
- มักเฉย ไม่ยิ้ม ไม่มองตาม ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้
- อาจส่งเสียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ
อายุ 1 ปี
- ไม่เล่นกับคนที่มาหยอกเล่นด้วย
- ไม่หันตามเสียง
- ชอบอะไรซ้ำๆ
- กลัวสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย เช่น สี, ลูกโป่ง
- แต่ในสิ่งที่อันตรายกลับไม่กลัว
อายุ 2-3 ปี
- ชอบเดินเขย่งเท้า
- กลัวการขึ้นลงบันได
- สร้างภาษาพูดของตนเอง
- ชอบใช้คาตามเดิม ซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่ฟังคาตอบ
- จะเล่นกับตัวเองแบบซ้ำๆ เช่น เล่นเงาตัวเองกัดฟันกรอดๆ โขกศีรษะตัวเอง
- มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับผู้อื่น
พ่อแม่บางคนแม้สงสัยว่าเบบี๋เป็นเด็กออทิสติกแต่ก็ไม่ยอมรับ ยังคงหลอกตัวเองว่าลูกมีพัฒนาการช้า ทำให้เด็กขาดโอกาสได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งจะส่งผลเสียถึงไอคิวและการเรียนของเด็กเมื่อโตขึ้นค่ะ