ระวัง !! Junk food ทำลูกน้อยไอคิวต่ำ

0

ผลวิจัยล่าสุดพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบที่กินพิซซ่า บิสกิต ขนมกรุบกรอบ และมันฝรั่งทอดมากๆ มักมีไอคิวลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี เด็กที่กินอาหารขยะพวกนี้จะมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่กินผักผลไม้และอาหารปรุง เองในบ้านถึง 5 คะแนน แม้เมื่อโตขึ้นได้หันมากินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็นับว่าสายเกินไปแล้ว เพราะผลเสียจะคงอยู่ไปตลอดชีวิตเลยล่ะค่ะ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาความเชื่อมโยงกันโดยตรง ระหว่างของกินของเด็กกับระดับสติปัญญาเมื่อโตขึ้น การศึกษาและอายุของมารดามาร่วมพิจารณาด้วย รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น การมีของเล่นและหนังสือ

ระวัง !!  Junk food  ทำลูกน้อยไอคิวต่ำ (1)

นักวิจัยบอกว่า การได้รับสารอาหารที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบปีแรกของชีวิต ซึ่งสมองกำลังพัฒนาในอัตรารวดเร็วที่สุด เด็กเล็กที่กินอาหารอุดมด้วยไขมัน น้ำตาล และอาหารแปรรูป จะได้รับวิตามินและสารอาหารน้อยเกินไป ทำให้สมองไม่ได้เติบโตอย่างเต็มที่

นักวิจัยแบ่งอาหารเป็น 3 จำพวก คือ พวกอาหารแปรรูปที่มีไขมันและน้ำตาลสูง, อาหารปกติที่มีเนื้อสัตว์และผัก กับอาหารที่เน้นสุขภาพ เช่น สลัด ผัก ผลไม้

ผลการวิจัยชี้ว่า อาหารที่เด็กกินในวัย 4 หรือ 7 ขวบไม่มีผลต่อระดับไอคิว แต่เด็กที่กินอาหารจำพวกมีประโยชน์น้อยที่สุดในวัย 3 ขวบนั้น ประมาณ 20% ของเด็กในกลุ่มนี้มีไอคิวต่ำกว่าเด็กกลุ่มที่กินอาหารจำพวกมีประโยชน์มากที่ สุดถึง 5 คะแนนเมื่อโตขึ้นจนมีอายุ 8 ขวบ

“สมองจะเติบโตเร็วที่สุดในช่วง 3 ปีแรก ถ้าได้รับสารอาหารที่ดีในช่วงเวลานี้ สมองก็จะเติบโตอย่างเต็มที่เมื่ออายุได้ 3 ขวบ สมองจะเติบโตช้าลง ซึ่งอาหารจะไม่มีผลนักหลังจากช่วงเวลานี้” ดร.เอมเม็ตบอก
ระวัง !!  Junk food  ทำลูกน้อยไอคิวต่ำ (2)

นอกจากนี้ อาหารปกติซึ่งมีเนื้อสัตว์และผัก กับอาหารที่เน้นสุขภาพทำให้มีไอคิวสูง “ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ควรให้เด็กกินน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ หรือพิซซ่าเลย เพียงแต่ไม่ควรกินของพวกนี้เป็นหลัก เด็กเล็กควรกินอาหารแบบบ้านๆ ปรุงเองในครัว ปัญหาคือคนสมัยนี้แทบไม่ทำอาหารกินเองแล้ว”

ผลวิจัยเด็ก 4,000 คนชิ้นนี้ ใช้ระบบการให้ค่าคะแนนในการวัดผลของอาหารที่มีต่อสมอง ซึ่งพบว่า ถ้าเด็กกินอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 คะแนนจะมีไอคิวลดลง 1.67 คะแนน และถ้าเด็กกินอาหารจำพวกอื่นเพิ่มขึ้นทุก 1 คะแนนจะมีไอคิวเพิ่มขึ้น 1.2 คะแนน

อืมม   เป็นข้อมูลที่น่าสนใจใช่ไหมคะ  ก่อนหยิบยื่นอะไรใส่ปากลูกครั้งต่อไป  เราคงต้องคิดเยอะขึ้นแล้วล่ะค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *