How to คุยกับลูกน้อยวัยแบเบาะ

0

ใช่แล้วค่ะ  ลูกในวัยนี้ยังพูดไม่เป็นภาษาแต่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูดหรือเสียงอ้อแอ้ที่ลูกส่งตอบมาจะไม่มีความหมายนะคะ  เพราะนั่นคือการสื่อสารของลูกที่มีกับคุณพ่อคุณแม่และในทางตรงกันข้ามลูกก็พยายามจะเรียนรู้เลียนแบบภาษาของคุณเช่นกัน ช่วงวัยแบเบาะนี่แหละจึงเป็นช่วงนาทีทองที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกน้อยพัฒนาเรื่องการพูด การใช้ภาษาให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสารกับลูกวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้เลยล่ะค่ะ

How to คุยกับลูกน้อยวัยแบเบาะ (3)

  • เริ่มก่อนเก่งเร็ว จริงๆ แล้ว คุณแม่เริ่มพูดกับเจ้าตัวน้อยได้ตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องคุณแม่เลยนะคะ  เพราะถึงลูกจะอยู่ในท้องอุ่นๆ ของคุณแม่ ประสาทสัมผัสทางการได้ยินก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ ลูกเริ่มได้ยินเสียงแล้วค่ะ การพูดกับลูกทุกๆ วันจะช่วยพัฒนาการทางสมอง และพัฒนาระบบการได้ยินค่ะ  แล้วยังสร้างความคุ้นเคยให้ลูกสามารถรู้จักคุณแม่ได้อย่างรวดเร็วเมื่อลืมตาดูโลก
  • พูดบ่อยๆ ค่อยๆ ชิน การพูดจากับลูกวัยเบบี๋ไม่ใช่การพูดในลักษณะแบบถามมาตอบไป หรือการสนทนา เพื่อโต้ตอบกัน แต่เป็นการพูดคุยกับลูกเพื่อช่วยปูพื้นฐานทางภาษาให้ลูก โดยเรื่องที่พูดคุยก็จะเน้นการพูดแบบชี้ชวนให้มองนั่นนี่ใกล้ๆ ตัว เพื่อให้ลูกได้เห็นทุกๆ วัน พูดซ้ำๆพร้อมกับชี้ให้ดูบ่อยๆ ไม่นานลูกก็เริ่มอยากพูดออกเสียงตามที่ได้ยินทุกๆวันดูบ้างแล้วค่ะ

How to คุยกับลูกน้อยวัยแบเบาะ (1)

  • พูดชัดถ้อยชัดคำ การที่คุณพ่อพูดอ้อๆ แอ้ๆ เลียนเสียงลูกเล่นบ้างก็น่าสนุกอยู่หรอกค่ะ แต่อย่าลืมว่าลูกวัยเบบี๋ที่กำลังตั้งใจฟังเสียงต่างๆ อยู่นั้นจะพยายามพูดตามเสียงที่เขาได้ยิน การพูดเล่นเลียนเสียงผิดธรรมชาติกับลูกอาจทำให้ลูกออกเสียงคำแบบผิดๆ ได้  คุณควรพูดให้ชัดถ้อยชัดคำจะช่วยให้ลูกพูดออกเสียงคำที่ถูกต้องเมื่อลูกโตขึ้นค่ะ

How to คุยกับลูกน้อยวัยแบเบาะ (4)

  • เป็นผู้ฟังที่ดี การสนใจฟังเสียงที่ลูกพยายามเปล่งออกมา และแสดงท่าทีด้วยการยิ้ม หรือพยักหน้าเป็นการตอบรับเมื่อลูกส่งเสียงให้ พร้อมกับพยายามพูดโต้ตอบกับลูกเหมือนการพูดคุยกันการสนทนาแบบสองทางทั้งพูดและฟัง จะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากพูดออกเสียงมากขึ้น

How to คุยกับลูกน้อยวัยแบเบาะ (2)

 

  • ส่งสายตา การสบตาลูกขณะพูดกับลูกหรือมองสบตาเขาตอนกำลังตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพยายามจะออกเสียงจะทำให้ลูกรู้ว่าพ่อกับแม่กำลังให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกพยายามที่จะพูด เหมือนกับกำลังคอยส่งสายตาลุ้นๆ เป็นกำลังใจให้ลูกอยู่นะ และที่สำคัญการสบตาลูกขณะที่กำลังพูดกับเขาอยู่จะช่วยให้ลูก ตั้งใจมอง และตั้งใจฟังเสียงต่างๆด้วยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *