เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญในการวางรากฐานของชีวิต พ่อแม่จึงต้องคอยดูแลและช่วยเสริมสร้างพัฒนาการขอวทารกน้อยอย่างเหมาะสม และนี่คือตัวอย่างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อแขนกับขา และส่วนต่างๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายทุกส่วนสำหรับเบบี๋วัย 0-1 ปี
ช่วงอายุ : 0-4 เดือน
กิจกรรม : ไหล่คอแข็งแรง (เพื่อฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้คอและไหล่)
สื่อ : ของเล่นสีสดใส
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางให้เด็กนอนในท่านอนคว่ำบนที่นอนหรือบนพื้นราบ 2. สบตาเด็กพร้อมร้องเพลงโยกเยกให้เด็กฟัง เมื่อเด็กมองตามแล้ว ค่อยๆ เคลื่อนหน้าขึ้นด้านบนเพื่อให้เด็กสนใจยกศีรษะโดยมือยันพื้นไว้แขนเหยียดตรงและหน้าอกพ้นพื้น 3. คอยสังเกตและให้ความช่วยเหลือเด็กอยู่ตลอดเวลา
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถยกศีรษะและอกโดยใช้แขนยันกับพื้นพยุงตัวไว้ได้
ช่วงอายุ : 5 – 6 เดือน
กิจกรรม : การสังเกตพฤติกรรม : ไหล่คอแข็งแรง (เพื่อฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้คอและไหล่)
สื่อ : ของเล่นสีสดใส
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางให้เด็กนอนในท่านอนคว่ำบนที่นอน 2. ใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงจูงใจอยากมองตาม 3. เมื่อเด็กเริ่มสนใจและมองของเล่น จากนั้นครูค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้เด็กสนใจ ยกศีรษะมองตามโดยที่มือของเด็กจะดันพื้นไว้ แขนเหยียดตรงและหน้าอกพ้นพื้น 4. คอยสังเกตและให้ความช่วยเหลือเด็กอยู่ตลอดเวลา
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างยันตัวขึ้นจนข้อศอกเหยียดตรง ท้องและหน้าอกต้องยกพ้นพื้น
ช่วงอายุ : 7 – 9 เดือน
กิจกรรมที่ 1 : ของเล่นแสนสนุก (เพื่อฝึกทักษะการทรงตัว นั่งได้แข็งแรง)
สื่อ : ของเล่น
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 2. วางของเล่น ไว้ด้านข้างตัวเด็กหรือเยื้องไปทางด้านหลัง โดยครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กสนใจ 3. ให้เด็กหยิบของเล่น หรือของใช้เด็กด้วยตนเอง
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถนั่งได้มั่นคงและเอี้ยวตัวหรือหมุนตัวไปหยิบของเล่นแล้วหันกลับมานั่งที่เดิมได้
กิจกรรมที่ 2 : โซฟาน่าเกาะ (เพื่อฝึกทักษะการทรงตัวยืนได้มั่นคง)
สื่อ : โซฟา, คำคล้องจอง
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางให้เด็กโดยให้เด็กอยู่ในท่ายืนตรง 2. ให้เด็กใช้มือเกาะที่โซฟา (ประคองเด็กโดยเด็กจับที่สะโพกเด็กก่อน ต่อมาเปลี่ยนจับที่ขาเด็ก) 3. เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้เด็กยืนเกาะโซฟาด้วยตนเองโดยไม่ใช้หน้าอกพิงหรือแขนเพื่อพยุงตัว
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถยืนเกาะโซฟาได้เองอย่างน้อย 10 นาที
ช่วงอายุ : 10 – 12 เดือน
กิจกรรมที่ 1 : ลุกนั่งกันเถอะ (เพื่อฝึกทักษะการทรงตัวนั่งได้มั่นคง)
สื่อ : ลูกบอล, ตุ๊กตามีเสียง
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายหรือนอนคว่ำ 2. กระตุ้นให้เด็กนั่ง โดยใช้ของเล่นมีเสียงบีบกระตุ้นเด็ก 3. หากเด็กทำไม่ได้ ต้องประคองเด็ก โดยการจับเข่างอทั้งสองข้าง จับมือเด็กทั้งสองข้างยันพื้น และกดที่สะโพกเด็กเพื่อให้เด็กยันตัวลุกนั่งได้
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถลุกจากท่านอนเป็นท่านั่งได้
กิจกรรมที่ 2 : หนูเกาะเดิน (เพื่อฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการทรงตัว)
สื่อ : โซฟา, ของเล่นสีสดใส
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางให้เด็กยืนเกาะโซฟาหรือโต๊ะ 2. เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้เด็กเกาะยืนโซฟาด้วยตนเอง โดยไม่ใช้หน้าอกพิงหรือแขนเพื่อพยุงตัว 3. กระตุ้นให้เด็กเกาะเดิน โดยอาจกระตุ้นให้เด็กหยิบของเล่นบนโซฟาในระยะใกล้ๆ ตัวเด็ก 4. คอยกระตุ้นและเฝ้าระวังการทรงตัวของเด็ก
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถเกาะยืนที่โซฟาได้โดยไม่ใช้หน้าอกพิงหรือแขนเพื่อพยุงตัว, เด็กสามารถเกาะเดินไปข้างๆ ได้ประมาณ 4-5 ก้าว
กิจกรรมที่ 3 : ขาหนูแข็งแรง (เพื่อฝึกทักษะการทรงตัวยืนได้มั่นคง)
สื่อ : ของเล่นสีสันสดใส
วิธีการจัดกิจกรรม : 1. จัดท่าทางเด็กอยู่ในท่ายืน โดยคอยจับพยุงตัวเด็กไว้ 2. เมื่อเด็กยืนเองได้แล้วค่อยปล่อยมือจากเด็กเพื่อให้เด็กยืนเอง 3. กระตุ้นให้เด็กยืนโดยใช้ของเล่นสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กสนใจ 4. ถ้าเด็กยังทำไม่ได้ คอยกระตุ้นและให้คอยพยุงเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคยและความมั่นใจให้กับเด็ก
การสังเกตพฤติกรรม : เด็กสามารถยืนได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องช่วยนานประมาณ 2 วินาที
กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้ร่างกายของเบบี๋เกิดความแข็งแรง รวมถึงมีพัฒนาการจากช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย กลายเป็นสามารถเคลื่อนไหวและทรงตัวได้อย่างมั่นคง