แม้อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทันใดโดยไม่รู้ตัว แต่เราสามารถประเมินความเสี่ยงได้ โดยการเกิดอุบัติเหตุในเบบี๋จะแตกต่างกันตามระดับพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นหากพ่อแม่ ผู้ปกครอง เข้าใจระดับพัฒนาการตามวัยของเด็ก จะทำให้ทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของเด็ก และสามารถหาแนวทางป้องกันได้
วัยแรกเกิด-2 เดือน
ระดับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ คือ นอนคว่ำ ยังไม่สามารถยกศีรษะจากแนวราบได้ดี ส่วนอุบัติเหตุที่พบบ่อย คือ ขาดอากาศ เมื่อบริเวณที่นอนมีวัสดุนุ่มฟู อุดจมูก สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยแก่เด็กวัยนี้ทำได้โดยการเลือกที่นอนเด็กที่ไม่นุ่มเกินไป รวมถึงควรมีผู้ดูแลทารกน้อยอย่างใกล้ชิด
วัย 2-6 เดือน
ระดับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ คือ พลิกคว่ำหงาย คว้าของหยิบของชิ้นเล็กเข้าปาก ส่วนอุบัติเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ตกจากที่สูง, การบาดเจ็บจากการถูกของร้อน น้ำร้อนลวก, สำลักสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจ สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยแก่เด็กวัยนี้ทำได้โดยการดูแลจัดการไม่ให้ในห้องเด็กที่เด็กอยู่มีวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ที่เด็กสามารถคว้าเข้าปากหรือจมูกได้ รวมถึงจัดหาคอกกั้นเด็กสำหรับเกาะยืน และป้องกันการตกหล่น
วัย 6-12 เดือน
ระดับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ คือ กลิ้งได้ เหนี่ยวยืน เกาะยืน เดินหยิบของชิ้นเล็กเข้าปาก ส่วนอุบัติเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ พลัดหกล้ม, จมน้ำสำลัก สิ่งแปลกปลอมอุดกั้น ทางเดินหายใจ, ได้รับสารพิษจากยา สารเคมี สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยแก่เด็กวัยนี้ทำได้โดยการดูแลจัดการไม่ให้ในห้องเด็กที่เด็กอยู่มีวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ที่เด็กสามารถคว้าเข้าปากหรือจมูกได้ รวมถึงจัดหาคอกกั้นเด็กสำหรับเกาะยืน และป้องกันการตกหล่น
วัย 12-18 เดือน
ระดับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ คือ เดิน วิ่ง ปีน สามารถใช้กล้ามเนื้อในการหยิบจับได้ ดื่มน้ำจากแก้ว ส่วนอุบัติเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ พลัดหกล้ม, จมน้ำสำลัก สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ, ได้รับสารพิษจากยา สารเคมี สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยแก่เด็กวัยนี้ทำได้โดยการดูแลจัดการไม่ให้ในห้องเด็กที่เด็กอยู่มีวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ที่เด็กสามารถคว้าเข้าปากหรือจมูกได้ รวมถึงก็บสารเคมีต่าง ๆ ในที่เด็กเอื้อมไม่ถึง
วัย 18-24 เดือน
ระดับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ คือ วิ่ง เปิดลิ้นชัก ตู้ ประตู ปีนขึ้นเฟอร์นิเจอร์ ส่วนอุบัติเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ พลัดหกล้ม, สำลักอาหารจากการวิ่งขณะรับประทานอาหาร, อันตรายจากการใช้ถนน, ได้รับสารพิษจากยา สารเคมี สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยแก่เด็กวัยนี้ทำได้โดยการทำประตู/หน้าต่าง ปิดเปิดที่แน่นหนา ป้องกันการปีนป่ายหรือ
เปิดของเด็ก, หุ้มขอบเฟอร์นิเจอร์ หรือมุมต่าง ๆ ด้วยที่กันกระแทก และควรเก็บสารเคมีต่าง ๆ ในที่เด็กเอื้อมไม่ถึง
ทารกเป็นวัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงมีความเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ ไม่อยากให้เบบี๋บาดเจ็บ ก็ต้องดูแลใส่ใจอย่าให้คลาดสายตา รวมถึงหาวิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง