5 ข้อควรระวังสำหรับเบบี๋แรกเกิด

0

ลูกน้อยแรกเกิดยังบอบบางมาก   คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยใส่ใจดูแลในเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ  เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูก  แม่นุ่มมีข้อควรระวังที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้มงวด  ดังต่อไปนี้

5-precautions-for-the-newborn-baby (3)
1. อย่าเพิ่งเที่ยวนอกบ้าน

ลูกน้อยวัยนี้ภูมิคุ้มกันในร่างกายยังทำงานไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทั้งยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ การพาเด็กไปอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง มลพิษ เชื้อโรค หรือฝุ่นละออง ฯลฯ ก็จะทำให้เสี่ยงที่ร่างกายจะรับเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย  ควรให้อยู่ในบ้านก่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงก่อนออกไปผจญกับโลก ภายนอก และให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัยด้วยนะคะ

2. ห้ามกินอย่างอื่นนอกจากนม

5-precautions-for-the-newborn-baby (1)

เด็กแรกคลอดอาหารหลักชนิดเดียวคือน้ำนมแม่ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ลูกยังไม่พร้อมที่จะรับอาหารชนิดอื่น เมื่อกินเข้าไปอาจจะทำให้ท้องเสียและเกิดป่วยได้   ส่วนอาหารเสริมเริ่มให้กินได้เมื่ออายุครบ 6 เดือนที่ระบบย่อยของลูกพร้อมแล้วค่ะ

3. ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเท่านั้น

ผิวหนัง ลูกแรกคลอดบางใสเหมือนปีกแมงปอจนสามารถมองเห็นเส้นเลือดข้างใน แถมบนผิวก็ยังไม่มีแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคภายนอกได้เหมือนผู้ใหญ่ ผิวลูกช่วงนี้จึงบอบบางมีโอกาสแพ้ง่ายทั้งยังเกิดแผลถลอกได้มากกว่าปกติด้วย ค่ะ  นอกจาก จะต้องสัมผัสและอุ้มลูกอย่างระมัดระวังแล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กจำเป็นค่ะ เพื่อป้องกันการระคายผิว ทั้งนี้การใช้น้ำยาซักล้าง ทำความสะอาดอุปกรณ์ของใช้ ควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ไม่มีสารตกค้างด้วยนะคะ

4. ต้องประคองคอเวลาอุ้ม

5-precautions-for-the-newborn-baby (2)

กระดูกหรือข้อต่อของลูกแรกคลอดยังไม่แข็งแรง เรียกว่าเปราะบางและมีโอกาสบิดงอได้ง่าย ทั้งยังไม่สามารถทนต่อการรับแรงกระแทก กด ทับ ดึง หรือยื้อ ได้ โดยเฉพาะส่วนที่แตกหักบ่อยที่สุดคือ กระดูกแขน ขา มือ เท้าและไหปลาร้า   การอุ้มหรือเล่นกับลูกต้องระมัดระวังช่วงข้อต่อและคอเป็นพิเศษ ส่วน ท่านอนสำหรับเด็กแรกคลอดนั้นควรให้นอนหงายโดยให้ลำตัว แขนและขาปล่อยสบายๆ ไม่ให้ส่วนใดทับหรือบิดงอ แล้วที่กังวลว่าศีรษะจะแบนนั้น ก็ยังไม่น่ากังวลเท่ากับความปลอดภัยของลูกนะคะ

5. ห้ามจับเขย่า โยน โยกอย่างรุนแรง เด็ดขาด!!

สมองของลูกวัยขวบปีแรกยังพัฒนาไม่เต็มที่ค่ะทั้งเส้นเลือดก็มีโอกาสฉีกขาดได้ ง่าย น้ำในช่องสมองมากกว่าเนื้อสมอง การได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น ถูกเขย่า ถูกโยก  จับลูกโยนกลางอากาศ   อาจจะทำให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrom (SBS) คืออาการที่เนื้อสมองไปกระทบกับกะโหลกศีรษะจนมีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาการนี้ส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *