3 โรคเด็กที่มักเช็คอาการได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด

0

ทารกวัยแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยจึงมักมีความรุนแรงมากกว่าวัยอื่น ฉะนั้น การหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเจ้าตัวเล็ก แล้วพาไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ รวมถึงทำให้พ่อแม่สามารถวางแผนการเลี้ยงดูเพื่อให้ทารกเติบโตได้อย่างเป็นสุขแม้จะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายก็ตาม

3 โรคเด็กที่มักเช็คอาการได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด

3-childhood-illnesses-that-often-check-for-signs-from-birth

1.โรคธาลัสซีเมีย

โรคที่สามารถถ่ายทอดได้จากพ่อแม่ที่มาสู่ลูก โดยทารกที่มีอาการของโรคขั้นรุนแรงมากจะเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเมื่อคลอดเพียง 1-2 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นส่วนน้อย ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการไม่มาก แต่จะซีดลงเมื่อมีไข้ ไม่สบาย ส่วนอีกกลุ่มจะมีอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก

อาการที่บ่งบอกว่าทารกอาจเป็นโรคธาลัสซีเมีย :  สามารถสังเกตอาการได้ตั้งแต่อายุเพียง 2-3 เดือนแรก ทารกจะตัวซีด หากอาการรุนแรงมาก ตาจะเหลือง อ่อนเพลีย ม้ามและตับโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป หรือที่เรียกว่า “หน้าธาลัสซีเมีย” ในระยะยาวจะมีกระดูกเปราะหักง่าย ป่วยบ่อยๆ

2.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เกิดจากความผิดปกติของขั้นตอนการสร้างหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก พบถึงร้อยละ 70-80 ของโรคหัวใจในเด็ก ทารกที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ หัวใจพิการชนิดมีภาวะตัวเขียว และชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว

อาการที่บ่งบอกว่าทารกอาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด :  พบว่าทารกใช้เวลาดูดนมนาน ดูดนมแล้วพักบ่อย ริมฝีปากเขียว ปลายมือปลายเท้าจะเป็นสีคล้ำ หายใจแรงและเร็ว หายใจลำบาก ตัวเย็น มือเท้าเย็น ซีดแบบเฉียบพลัน หน้าอกผิดรูป ยุบหรือโป่งมากผิดปกติ นิ้วปุ้ม

3.โรคดาวน์ซินโดรม

โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ส่วนใหญ่มาจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกิดความผิดปกติ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือการส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้มากที่สุด

อาการที่บ่งบอกว่าทารกอาจเป็นโรคดาวน์ซินโดรม : มีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ตาเฉียงขึ้นเล็กน้อย ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ปากเปิดออก และลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก และหูมีรอยพับมากกว่าปกติ


ฉะนั้น นอกจากการหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ของทารกแล้ว ควรพาเบบี๋มาตรวจสุขภาพเมื่อลูกมีอายุครบตามกำหนดเวลา หรือเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติของลูก เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *