10 ทารกกลุ่มเสี่ยงมีปัญหาการได้ยินบกพร่อง

0

การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางอารมณ์และสังคมของเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต พบได้ 3-5 คน ในทารกปกติ 1,000 คน และสูงถึง 3-5 คนในทารกกลุ่มเสี่ยง 100 คน ทั้งนี้ หากค้นเจอและรักษาก่อนอายุ 6 เดือน จะช่วยให้มีพัฒนาการเท่าเด็กทั่วไปได้

ข้อมูลจาก นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า…

ภาวะบกพร่องทางการได้ยินจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านภาษา การเรียนรู้ การเรียน การทำงาน ซึ่งหากสามารถตรวจหาสาเหตุและวินิจฉัยโรคประสาทหูเสื่อมได้ก่อนอายุ 6 เดือน และได้รับการรักษา เช่น การผ่าตัดประสาทหูเทียม การใส่เครื่องช่วยฟัง การแก้ไขฟื้นฟู ฝึกพูด ฝึกฟัง จะสามารถมีพัฒนาการด้านต่างๆ เท่าทันเด็กทั่วไป สุขภาพจิตและอารมณ์ก็จะดีไปด้วย

10 ทารกกลุ่มเสี่ยงมีปัญหาการได้ยินบกพร่อง

10-babies-at-risk-of-hearing-impairment

  1. ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือคลอดก่อนกำหนด
  2. มีความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า และหูแต่กำเนิด มารดาได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อเด็กขณะตั้งครรภ์
  3. มารดามีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  4. ภาวะตัวเหลืองจนต้องถ่ายเลือด
  5. มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคประสาทหูพิการ เป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิด
  6. มีปัญหาระหว่างคลอด แรกคลอดต้องอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยแรกเกิด
  7. ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้รับยาที่มีพิษต่อหู
  8. ภาวะขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์มารดาหรือระหว่างคลอด
  9. มีลักษณะที่เข้ากับโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติทางการได้ยิน
  10. ภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด หรือภาวะที่มารดามีน้ำตาลในเลือดสูงในคณะตั้งครรภ์

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กมีปัญหาประสาทหูเสื่อมตั้งแต่กำเนิด คู่สมรสควรตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และหากครอบครัวมีประวัติเรื่องประสาทหูเสื่อม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการมีบุตร ระหว่างตั้งครรภ์ที่สำคัญควรฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปด้วยดีจนกระทั่งคุณแม่คลอดลูกออกมา

ฉะนั้น หากเบบี๋แรกคลอดยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง หรือหากมีอายุ 1 ปีแล้ว สงสัยว่ามีปัญหาการได้ยิน เช่น เรียก พ่อ แม่ไม่ได้ ไม่หันหน้าตามเสียงเรียก ขอพ่อแม่ให้รีบพามาตรวจและรับการรักษานะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *