นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูก นักโภชนาการเด็กแนะนำให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตั้งแต่เกิดจนถึง 2 ขวบ แต่โดยมากแล้วคุณแม่มักจะประสบปัญหาเจ็บๆ เมื่อลูกน้อยครบ 6 เดือนและเริ่มมีฟันคู่แรก จนทำให้ขยาดกลัวและเลิกนมแม่ไปในที่สุด
เหตุผลที่ลูกกัดหัวนม
ตอนเริ่มมีฟันขึ้น เหงือกจะบวมและลูกจะปวดรู้สึก เจ็บเหงือก มีน้ำลายไหลยืดทำให้รู้สึกอยากขยับเหงือกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ ลูกจะรู้สึกดีถ้ามีอะไรในปากให้ขบ
เวลาที่ลูกดูดนมแม่ลุกจะไม่กัดนม เพราะเหงือกกับริมฝีปากลูกไม่ได้สัมผัสกับหัวนมแม่โดยตรงเพราะลิ้นของลูกคั่นอยู่ระหว่างนมกับฟันล่าง ตอนลูกดูดนมการขยับเหงือกและฟันจะเป็นการขยับลิ้นที่สัมผัสโดยตรงกับนมแม่เท่านั้น
ดังนี้ตอนเริ่มให้นมกับตอนกินเสร็จต่างหากเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องระวังเพราะนั่นเป็นเวลาที่คุณจะต้องค่อย ๆ ถอนหัวนมออกจากปากลูกทำให้หัวนมมีโอกาสถูกเหงือกและฟันที่ยังขยับอยู่ได้
อีกสาเหตุก็คือเวลาลูกหิวนมก็จะขยับเหงือกและฟันเพื่อดูดนมก่อนที่หัวนมจะเข้าที่นั่นเอง ถ้าเป็นช่วงหลังกินนมอิ่มแล้วก็เป็นช่วงที่แม่กำลังจะถอนนมจากปากลูก แต่ลูกก็ยังขยับเหงือกและฟันเป็นการฆ่าเวลาแต่มักจะไปโดนหัวนมแม่อยู่เสมอ เพราะเป็นอย่างเดียวที่อยู่ในปากลูก
ทำอย่างไรเมื่อลูกกัดนม
· เวลาลูกกัดนมแม่จนเจ็บแล้วคุณสะดุ้ง ลูกคุณรับรู้ได้ถึงการตอบโต้ของคุณและถ้าคุณสะดุ้งทุกครั้งก็เท่ากับเตือนว่าอย่าทำอีกนะ แม่เจ็บ
· อย่ารีบดึงหัวนมออกจากปากลูกเพราะเหงือกและฟันของลูกยังยึดไว้ นั่นยิ่งทำให้คุณเจ็บมากขึ้น
· ใช้นิ้วสอดเข้าไประหว่างเหงือกบนและเหงือกล่าง แล้วค่อยๆ ดึงหัวนมออกมาจากปากลูกช้าๆ
· สบตาลูก มองหน้า บอกลูกด้วยสีหน้าจริงจัง ว่าแม่เจ็บ ลูกทำแบบนี้ไม่ได้
· หากลองให้ลูกกินนมใหม่แล้วยังกัดอีก ให้คุณแม่ทำแบบเดิมซ้ำอีกครั้ง แต่ครั้งนี้งดการให้นม จนกว่าจะถึงนมมื้อถัดไป หากมีคนช่วยเลี้ยงให้ส่งให้คนอื่นดูแลต่อ หรือ วางลงกับที่นอน