เบบี๋ “ร้อนใน” อะไรคือสาเหตุและมีวิธีสังเกตอาการมั้ย?

0

แม้ “ร้อนใน” หรือ “แผลร้อนในปาก” จะเป็นอาการหรือโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่สำหรับลูกสุดที่รักแล้ว อาการเจ็บป่วยเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้หัวใจคนเป็นพ่อแม่กังวลอย่างมาก เพื่อการรับมืออย่างถูกวิธี เราไปเจาะลึกถึง “ร้อนใน” ตั้งแต่สาเหตุ วิธีสังเกตอาการ วิธีดูแล รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เบบี๋เป็น “ร้อนใน” กันค่ะ

“แผลร้อนในปาก”

หรือ “ร้อนใน” มีลักษณะเป็นแผลขาวๆที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผลส่วนมากจะไม่มีไข้ บางรายมีทั้งแผลในปากและมีไข้ร่วมด้วย หากลูกน้อยมีไข้สูง ควรพาเบบี๋ไปพบแพทย์

วิธีสังเกตอาการร้อนในของเบบี๋แบบง่ายมาก

  1. ลูกน้อยดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
  2. ไม่เคี้ยวอาหาร เนื่องจากเจ็บปากจากแผลร้อนใน
  3. ลมหายใจมีไอร้อน
  4. ในเด็กบางรายเปลี่ยนวิธีการหายใจจากทางจมูกเป็นการหายใจทางปากแทน

%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b9%8b-%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99

สาเหตุของการเกิดร้อนใน มีหลายสาเหตุ ได้แก่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส, ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง หรือกำลังไม่สบาย เช่น เป็นหวัด, รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป, กัดปากตนเอง, ขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต ซีลีเนียม แคลเซียม วิตามิน บี 1, 2, 6, 12วิตามินซี,  การแพ้อาหารบางอย่าง เช่น แป้งสาลี ข้าวโอ๊ต ผลไม้รสเปรี้ยว นม ถั่ว สารกันบูด เป็นต้น

ในส่วนของการรักษาร้อนในนั้น หากเกิดจากการติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ และอาจให้ยาลดไข้บรรเทาปวดร่วม โดยในรายที่มีไข้คุณแม่ควรหมั่นตรวจเช็คอุณหภูมิของลูกเป็นระยะ เพื่อป้องกันอาการชักที่เกิดจากไข้ด้วย โดยทั่วไปแผลจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ในช่วงที่เป็นแผลจะมีอาการเจ็บปาก ทำให้รับประทานได้น้อย คุณแม่ควรให้เบบี๋หม่ำอาหารอ่อน ไม่เผ็ด ไม่ร้อน ไม่เปรี้ยว

วิธีการป้องกันที่ดีทีสุดคือการรักษาสุขอนามัยของทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย เช่น ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *