เมื่อเบบี๋ชักเพราะไข้สูง ต้องดูแลให้ถูกวิธี

0

เมื่อเบบี๋ไม่สบายมีไข้สูง คนเป็นพ่อแม่ย่อมวิตกกังวล เรียกว่าแทบจะไม่ได้นอนทั้งคืน เพราะเกรงว่าลูกจะเกิดอาการชัก และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการชักมักพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 3 เดือน จนถึง 5 ปี เพราะสมองของเด็กยังมีการพัฒนาไม่เต็มที่ จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น
windows 10 product key
windows 10 Product key online
อาการชักมักจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีไข้ตัวร้อนสูงเกิน 39 องศาเซลเซียส และมักเกิดในช่วงวันแรกหรือวันที่ 2 ของการมีไข้ เริ่มจากเบบี๋จะมีอาการเกร็งทั้งตัว ตาเหลือก กัดฟันและลิ้น อาจเกิดการกระตุกของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 1–3 นาที

ในรายที่เด็กชักเป็นเวลานาน อาจมีอาการน้ำลายฟูมปาก หรือริมฝีปากและปลายมือปลายเท้ามีสีคล้ำเขียวได้ หลังจากหยุดชักแล้วเด็กมักจะหลับ หรือมีอาการสะลึมสะลือไปชั่วครู่ แต่กรณีเด็กที่ชักนานกว่า 15 นาที อาจพบอาการผิดปกติทางระบบประสาท

วิธีการดูแลเบบี๋ มีอาการชักจากไข้สูง

%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b9%8b-%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87

  1. จับลูกนอนหงาย และตะแคงศีรษะลูกไปด้านข้าง ให้อยู่ในระดับต่ำเล็กน้อย เพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ให้น้ำลาย เสมหะ หรือเศษอาหารไหลออกมาได้สะดวก ป้องกันไม่ให้สำลักไปอุดตันในหลอดลม
  2. ถอดหรือคลายเสื้อผ้า รวมถึงผ้าห่มที่อาจทำให้ลูกอึดอัดออก
  3. ระวังอย่าให้ลูกกัดลิ้นตัวเอง โดยการสอดด้ามช้อนที่หุ้มด้วยผ้านุ่มๆ และสะอาด สอดเข้าในช่องปาก แต่ถ้าลูกกำลังเกร็งและกัดฟัน ก็อย่างัดปากลูกในทันที จะทำให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บได้ เช่น ฟันหลุดหรือหักและหล่นลงไปอุดหลอดลม ซึ่งจะทำให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
  4. ใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำอุ่นเช็ดเน้นบริเวณตามข้อพับต่างๆ ของร่างกายทั้งแขนขา และค่อย ๆ เช็ดตัวลูก โดยเช็ดในทิศทางที่ย้อนเข้าหาหัวใจ เพื่อเป็นการเปิดรูขุมขน ให้ความร้อนสามารถระบายออกได้
  5. ขณะที่ลูกชัก ไม่ควรเขย่าหรือตีเพื่อให้ลูกรู้สึกตัวจะทำให้ลูกชักมากขึ้น รวมถึงห้ามป้อนอะไรให้ลูกเด็ดขาด แม้กระทั่งยาลดไข้ เพราะทำให้สำลักได้
  6. เมื่ออาการสงบแล้ว ควรรีบพาทารกน้อยไปพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องมีสติ เพราะถ้าพ่อแม่ขาดสติก็จะทำให้สถานการณ์ไปกันใหญ่ นอกจากนี้หากเบบี๋เคยชักมาก่อน พ่อแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อลูกมีไข้  เพราะมักมีโอกาสเกิดอาการชักซ้ำได้อีก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *