ระวัง! เบบี๋ติดเชื้อไอกรนจากผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ

0

“ไอกรน” เป็นโรคติดต่อที่มักพบในเด็กแรกเกิด ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อจากการไอ จาม ของบุคคลที่มีเชื้อโรคในร่างกายทั้งที่มีอาการป่วยหรือไม่แสดงอาการ ที่น่าห่วงคือ เด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน เพราะโรคมักรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นในอัตราที่สูงและรุนแรงกว่า และมีโอกาสเสียชีวิตได้ค่ะ

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า

สถานการณ์โรคไอกรนในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 26 เม.ย. 2561 มีรายงานโรคไอกรน 19 เหตุการณ์ พบผู้ป่วย 27 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 59.26) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 1 – 3 เดือน (ร้อยละ 40.74)

%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%99-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556 – 2560) มีรายงานผู้ป่วย 16 – 77 ราย เสียชีวิตปีละ 0 – 3 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงาน 4 เหตุการณ์ จากจังหวัดสงขลา ภูเก็ต นครพนม และ นครศรีธรรมราช และคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคไอกรนเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ จากข้อมูลการสอบสวนโรค พบว่าเด็กที่ป่วยด้วยโรคไอกรนส่วนใหญ่ติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัวที่ไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้น ผู้ที่มีอาการไอ จาม ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กแรกเกิด หรือไม่ควรพาเด็กเล็กไปในสถานที่ชุมนุมชนหรือแออัด และหากพบเด็กแรกเกิดมีอาการไอแห้งเป็นชุดๆ ไอมาก หายใจไม่ทัน ให้รีบพาไปแพทย์ทันที

โรคไอกรนสามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีน

ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานของท่านไปฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตามช่วงเวลาที่กำหนด (2 เดือน, 4 เดือน,6 เดือน, 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี) สำหรับหญิงตั้งครรภ์สามารถปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคได้เช่นกัน

ในส่วนของครอบครัวที่มีทารกหรือเด็กเล็กนั้น หากมีผู้ป่วยไอกรน ควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อผ่านน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ในผู้สัมผัสโรคควรสังเกตว่ามีอาการไอหรือไม่ ติดตามอย่างน้อย 2 สัปดาห์

หากครอบครัวมีความเสี่ยง พ่อแม่ควรพาเบบี๋ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย แม้จะได้รับวัคซีนป้องกันครบแล้วก็ตาม เพื่อความปลอดภัยก่อนที่อาการจะรุนแรงจนยากจะรักษาค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *