พ่อแม่ต้องระวัง! เด็กเล็กเสี่ยงป่วย “โรคหัด” สูงขึ้น

0

“โรคหัด” นับเป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี รวมถึงผู้ใหญ่ ในที่นี้เราขอโฟกัสไปที่หัดที่เกิดกับเบบี๋ เพราะล่าสุดมีการเปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า สถานการณ์ในช่วงปี 2561 นี้ พบป่วยโรคหัดแล้ว 4.4 พันราย มีจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต 18 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุต่ำกว่า 1 ปี

โดยภาคใต้เป็นภาคที่พบผู้ป่วยโรคหัดสูงสุด โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และมักจะพบในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุต่ำกว่า 1 ปี

%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%81-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%94

จากสถานการณ์ที่ผ่านมาจึงคาดว่า จะพบผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดไม่ทั่วถึง ประกอบกับธรรมชาติของโรคหัดที่สามารถติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กเล็ก

ทั้งนี้ โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส Measles โดยเชื้ออยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และในอากาศ ผู้ป่วยโรคหัดสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ตั้งแต่ 1-2 วัน ก่อนมีไข้ ไปจนถึงระยะหลังผื่นขึ้นแล้ว 4 วัน ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ แสบตา ตาแดง ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะมีผื่นลักษณะนูนแดงขึ้นจากหลังหูลามไปที่ใบหน้าและทั่วร่างกาย ผื่นจะคงอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์

โรคหัดเป็นโรคที่อันตรายในกลุ่มเด็กทารกหรือเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ นอกจากนี้ ยังมีภาวะแทรกซ้อน หากได้รับการรักษาล่าช้า อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีนป้องกันโรค และหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย

ในเด็กเล็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกที่อายุ 9-12 เดือน โดยให้ในรูปของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม และให้วัคซีนซ้ำอีกครั้งที่อายุ 2 ปีครึ่ง สำหรับผู้ป่วยถ้าพบว่ามีไข้สูง เริ่มมีอาการไอมากหรือหอบเหนื่อย โดยอาจมีผื่นขึ้นหรือไม่ก็ได้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหัดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 นะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *