เดือนตุลาคมนี้ถือช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จึงอาจกระตุ้นอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความรู้สึกทุกข์โศก เครียด และวิตกกังวล ฉะนั้นการการปฐมพยาบาลจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งควรทำและไม่ควรทำยามต้องดูแลผู้มีปัญหาทางใจให้คลายความเศร้าโศกในช่วงนี้ค่ะ
สิ่งที่ควรทำของผู้ให้การช่วยเหลือ
- ใช้น้ำเสียง ท่าทางแสดงความเป็นมิตร แสดงถึงความอบอุ่น เข้าใจ
- ใช้การฟังอย่างตั้งใจ แสดงความเข้าอกเข้าใจ อดทนรับฟัง หากเขายังเล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ
- ยอมรับปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงของผู้ประสบภาวะวิกฤต
- เป็นตัวแทนในการติดต่อ
- ให้ความช่วยเหลือตามความเป็นจริงอย่างเหมาะสมหรือตามความต้องการ
- ทำความเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรม ความเชื่อ ภาษาที่แตกต่าง
- ปฏิบัติกับเด็กด้วยความจริงใจเท่าเทียม มีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับผู้ใหญ่
- ให้ข้อมูลว่าอารมณ์ต่างๆ ที่เอ่อท่วมท้นอาจคงอยู่ไประยะเวลาหนึ่ง
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
- ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม เช่น เวลารักษาบาดแผลทุกอย่าง มันจะผ่านไปในไม่ช้า อย่าเสียใจ อย่าคิดมากเลย คนอื่นเขาก็เป็นอย่างนี้ เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง เป็นต้น
- แสดงความเห็นอกเห็นใจโดยมีอารมณ์ร่วมไปกับผู้ประสบภาวะวิกฤต เช่น ร้องไห้
- สัญญาในสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะทำได้
- ตีตราว่าผู้ประสบภาวะวิกฤตมีอาการทางจิต
- ซักถามหรือให้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- แยกสมาชิกครอบครัวออกจากกัน
- การสื่อสารทางลบ
ทั้งนี้ หากผู้รับความช่วยเหลือมีอาการไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ