ทริคการเซฟตัวเองอย่างถูกต้องเมื่อถูก “งูกัด”

0

ช่วงนี้อาการแปรปรวน เดี๋ยวร้อนจัด เดี๋ยวฝนตกหนัก นอกจากต้องระวังสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บที่แวะมาเยี่ยมเยือนแล้ว อันตรายจากสัตว์ร้ายก็เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เราต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะ “งูและสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นพิษ” ที่มักจะหลบในรูในฤดูร้อน และออกมาในฤดูฝน แต่สภาพอากาศในประเทศไทยมีพายุฤดูร้อนร่วมด้วยทำให้มีการพบงู และโดนงูกัดมากขึ้น เนื่องจากงูออกจากรูมาหากินหลังฝนตก ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจรวมทั้ง แมงป่องและตะขาบด้วย

หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า เมื่อถูกงูกัด จะรู้ว่างูนั้นมีพิษหรือไม่?

ให้สังเกตที่รอยเขี้ยว ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว แต่ถ้าเป็นงูพิษ จะมีรอยเขี้ยว 2 จุดชัดเจน หรือมีเลือดซึมออกจากแผล และบริเวณรอบๆ รอยเขี้ยวมีสีคล้ำ หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ

ทริคการเซฟตัวเองอย่างถูกต้องเมื่อถูก “งูกัด” (1)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำได้โดย

  1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆ
  2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
  3. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว จุดประสงค์เพื่อให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ถูกต้อง
  4. ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ
  5. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น
  6. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ
  7. รับประทานยาแก้ปวดหากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า เป็นต้น
  8. รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม
  9. ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *