เช็คก่อนแชร์… ข้อมูลสุขภาพในโซเชียลมั่วเกินครึ่ง!

0

ความรู้เท่าทันด้านสุขภาพมีผลต่อการเกิดโรคอย่างชัดเจน หากเราไม่มีความรู้ด้านสุขภาพ ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องย่อมมีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากกว่า เกิดการเจ็บตายพิการและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากกว่า ฉะนั้นความรู้เท่าทันด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ใช่แค่รู้ แต่ต้องนำไปปฏิบัติได้

ปัญหาคือข้อมูลสุขภาพในปัจจุบันจะพบว่ามีการส่งต่อ หรือแชร์เป็นจำนวนมาก อย่างในแอปพลิเคชัน “ไลน์” มีการศึกษาว่าการก๊อบปี้ข้อมูลและแชร์ข้อมูลสุขภาพกันในไลน์กว่าร้อยละ 50 เป็นข้อมูลที่บิดเบือน ไม่เป็นความจริง

ดังนั้น คนที่มีความรู้เท่าทันด้านสุขภาพ จะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพได้ ประเมินข้อมูลสุขภาพได้ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ และนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาของตัวเอง

people using cellphone

ปัญหาที่ทำให้มีการส่งข้อมูลสุขภาพแบบผิด ๆ จำนวนมาก เพราะพื้นฐานของคนไทยชอบเก็บงำความรู้สึกความสงสัยไว้ในใจ ไม่ยอมถาม นอกจากนี้ เราถูกปลูกฝังเรื่องของเมตตาธรรม การส่งต่อข้อมูลให้คนอื่นที่เราคิดว่าดี อย่างเรื่องสุขภาพถือเป็นการทำบุญช่วยคนอื่น แต่ปัญหาคือ การแชร์ออกไปนั้นเราส่งโดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ถูกผิดว่าเชื่อถือได้จริงหรือไม่ แทนที่จะได้เป็นผลดีอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

การพิจารณาว่าข้อมูลสุขภาพเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ทำได้โดย…

  1. ดูแหล่งที่มาของข้อมูลก่อนว่ามีหรือไม่ น่าเชื่อถือหรือไม่
  2. เข้าใจกระจ่างชัดในข้อมูลนั้นหรือไม่ มีข้อสงสัยใดเพิ่มเติมหรือไม่
  3. ดูว่าข้อมูลให้ข้อดีเพียงด้านเดียวหรือไม่ ซึ่งความเป็นจริงทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ต้องหาข้อจำกัด หรือข้อเสียของข้อมูลนั้นด้วย โดยอาจค้นคว้าเพิ่มเติมหรือถามผู้เชี่ยวชาญ หากเชื่อถือได้ค่อยปฏิบัติหรือค่อยส่งข้อมูลต่อให้คนอื่น

การทำข้อมูลสุขภาพเป็นเรื่องยาก เพราะคนทั่วไปมักตั้งคำถามเพียงแค่ว่ากินอะไร ทำอะไรแล้วจะดีต่อสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันพบแต่ข้อมูลที่ว่ากินอะไรช่วยอะไร แต่ไม่ได้บอกข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจเป็นข้อจำกัด หรือข้อเสีย เช่น กินทุเรียนช่วยให้น้ำตาลในเลือดไม่พุ่งจนเกินไปแต่ต้องไม่ลืมว่าตัวทุเรียนก็มีน้ำตาลมาก การกินมาก ๆ ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน

ดังนั้น จึงต้องพิจารณาข้อมูลให้ถี่ถ้วนรอบด้าน เช็คก่อนแชร์เสมอ!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *