กาแฟทำเราวิตกกังวลมากขึ้น จริงหรือไม่?

0

กาแฟ ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุกในโลกอีกเมนูหนึ่ง อีกทั้งสารคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟยังเป็นสารกระตุ้นที่มีความแพร่หลายมากที่สุดอีกเช่นเดียวกัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า กาแฟจะดีและเข้ากันได้กับทุกคน เพราะมีข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา 31% จะมีอาการวิตกกังวล หรือเป็นโรควิตกกังวล และ 85% ของคนอเมริกันดื่มกาแฟ สิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกันจริงๆ หรือไม่?

does-coffee-make-us-more-anxiety

อะไรคือ “โรควิตกกังวล”

จากบทความเรื่อง 11 อาการเช็ค เราเป็น “โรควิตกกังวล” (Anxiety Disorders) หรือเปล่า? บอกว่า โดยปกติการที่เราวิตกกังวลเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น แต่หากมีอาการวิตกกังวลใหญ่กว่าเหตุการณ์นั่นอาจหมายความว่าเรากำลังเผชิญกับโรควิตกกังวลอยู่

กาแฟทำเราวิตกกังวลมากขึ้น จริงหรือไม่?

ในความเป็นจริงคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต (DSM-5) คู่มือที่ตีพิมพ์โดย American Psychiatric Association และใช้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยโรคทางจิต ปัจจุบันแสดงรายการ 4 อย่างที่มีคาเฟอีนเกี่ยวข้อง

  • อาการกาแฟเป็นพิษ (Caffeine intoxication)
  • ภาวะถอนคาเฟอีน (Caffeine withdrawal)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับคาเฟอีนที่ไม่ระบุ
  • ความผิดปกติที่เกิดจากคาเฟอีนอื่นๆ (โรควิตกกังวล, โรคนอนไม่หลับ)

แหล่งการศึกษาที่เชื่อถือได้ของปี 2008 แสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนเพิ่มความตื่นตัวโดยการปิดกั้นสารเคมีในสมอง (อะดีโนซีน) ที่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าในขณะเดียวกันก็กระตุ้นการปล่อยอะดรีนาลีนที่เป็นที่รู้จักเพื่อเพิ่มพลังงานนั่นเอง (อ้างอิง)

หากปริมาณคาเฟอีนสูงพอผลกระทบเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลจากคาเฟอีน นอกจากนี้การศึกษาปี 2005 ระบุว่า การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจนำไปสู่อาการคล้ายกับโรคทางจิตเวชรวมถึงความผิดปกติของการนอนหลับและความวิตกกังวลเพิ่ม (อ้างอิง)

อย่างไรก็ตาม กาแฟยังมีประโยชน์ในแง่ของสุขภาพด้านอื่นๆ ดังนั้น ถ้าจะให้ดีที่สุดควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะและหากพบว่าตัวเองมีอาการวิตกกังวล นอนหลับยาก การหลีกเลี่ยงคาเฟอีนจะเป็นทางเลือกปฏิบัติที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ปรับปรุงอาการให้ดีขึ้นได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *