“ใยอาหาร” คุณค่าที่ (ร่างกาย) คุณคู่ควร!!

0

ใยอาหาร (Dietary fiber/Roughage)

ประเภทหนึ่งของอาหารที่ได้จากพืช และเกือบทุกชนิดถูกจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง (Non-starch Carbohydrates) โดยเป็นอาหารส่วนที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ (Indigestible portion) ทั้งนี้ ใยอาหารมี 2 ชนิดคือ

  • ชนิดที่ละลายในน้ำ
  • ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติทางกายภาพของใยอาหารทั้งสองชนิดนั้นก็มีความแตกต่างกัน

ใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber)

เส้นใยอาหารที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ และสามารถดูดซับสารที่ละลายในน้ำไว้กับตัว ร่างกายย่อยไม่ได้ มีส่วนทำให้อาหารผ่านไปในทางเดินอาหารช้าลงโดยไม่ช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระใยอาหารชนิดละลายน้ำจะถูกหมักในลำไส้ใหญ่ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นแก๊ส และสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส

และใยอาหารชนิดนี้จากพืชบางชนิดจะมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติคได้ พืชที่มีใยอาหารชนิดนี้สูง เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต บลอคโคลี่ มันเทศ แครอท พรุน แพร์เบอร์รี่ต่างๆ

Woman Eating Handful Of Almonds

Glass of soy milk on a wooden background.

Dried Plums

จากการศึกษาเชื่อว่า ใยอาหารกลุ่มนี้หลายตัวยังช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลน้ำตาล จึงอาจช่วยลดโอกาสเกิดไขมันและน้ำตาลในเลือดสูงได้

ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ (Insoluble fiber)

เส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวได้ในน้ำเหมือนฟองน้ำ (ไม่มีความหนืด) ช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร และบางชนิดมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติค รวมทั้งจะก่อให้เกิดแก๊สและสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจากการถูกหมักได้เช่นเดียวกับใยอาหารชนิดละลายน้ำ พืชที่มีใยอาหารชนิดนี้สูง เช่น ถั่วต่างๆ กะหล่ำ ขึ้นฉ่าย แครอท ธัญพืชเต็มเมล็ด เปลือกผลไม้ (ที่กินได้)

celery dippen

Healthy food fresh carrot

จากการศึกษาเชื่อว่าใยอาหารในกลุ่มนี้ ช่วยลดอาการท้องผูก และพบว่าอาจเกี่ยวข้องกับการช่วยให้เซลล์ร่างกายไวต่อฮอร์โมนอินซูลิน จึงอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิด 2 ได้

ใยอาหารทั้งสองชนิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายควรได้รับในทุกๆวันในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันโดยเลือกจากหลายแหล่ง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดเปียก และธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *