“ยาอั้นอึ” หยุดอาการปวดไม่รู้เวลา ใช้ไม่ระวังอาจถึงชีวิต!

0

สร้างความฮือฮาในโลกออนไลน์ จนมีการแชร์ต่อๆ กันอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ที่ประสบปัญหาปวดอุจจาระไม่รู้จักเวล่ำเวลา กับโพสต์ของเจ้าของเฟซบุ๊ก Navarat Pradungson ที่เล่าถึงยาจากญี่ปุ่นที่เมื่อกินเข้าไปจะทำให้อาการปวดท้องอึหายไปในเวลาไม่ถึง 10 นาที แต่ขึ้นชื่อว่ายาย่อมต้องระวังในการใช้ค่ะ

ข้อมูลจาก นพ.ศุภวัฒน์ วราพรมงคลกุล อายุรแพทย์ทั่วไป ประจำโรงพยาบาลยันฮี ให้สัมภาษณ์กับอมรินทร์ ทีวี สรุปความได้ว่า

ยาหยุดถ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตามจะมีสารสกัดชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้ คล้าย ๆ กับ ยา “อีโมเดียม หรือโลโมติล” ที่คุ้นเคยกันในบ้านเรา ทำให้ลำไส้หยุดชะงัก ไม่บีบตัว จึงชะลออาการปวดท้อง และการขับถ่ายออกไปได้ในระดับหนึ่ง

ยาตัวนี้จะไปหยุดการทำงานของลำไส้ทันที หากสิ่งที่ตกค้างอยู่ในร่างกายมีการติดเชื้อ จะทำให้เชื้อนั้นอยู่ในร่างกายนานขึ้น และอาจเกิดลำไส้อักเสบ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเกิดการเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้ว ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาชนิดนี้ เพราะนอกจากจะออกฤทธิ์ต่อลำไส้แล้ว ยังส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ม่านตา หรือจอประสาทตา

%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b6

ด้าน นพ.พิชัย กิตติปัญญาวรคุณ แพทย์เฉพาะทางอายุกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สมุทรปราการ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า

การอั้นอุจจาระชั่วคราวและไม่ได้ทำบ่อย มักไม่เกิดผลข้างเคียง แต่หากทำบ่อยๆ อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากอุจจาระถ้าค้างไว้ในลำไส้นานๆ ร่างกายจะมีกลไกในการดูดน้ำ อุจจาระจะค่อยๆ แห้งและแข็งขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีอาการถ่ายออกยากและถ่ายลำบาก

ถ้าอั้นอุจจาระอยู่บ่อยๆ เรื่อยๆ ลำไส้ก็จะแข็งมากขึ้น เกิดปัญหากับระบบขับถ่ายได้ เช่น อุจจาระแข็งมาก เมื่อพยายามที่จะเบ่งออกมา ก็จะทำให้ก้อนอุจจาระที่มีความแข็งไปเสียดสีกับลำไส้ที่อยู่ช่วงปลายทวาร เกิดเป็นแผลตรงรูทวารได้ และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน จนเป็นหนองขึ้นมาและกลายเป็นฝีได้

ฉะนั้น หากไม่อย่างเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของการใช้ยา เมื่อรู้สึกปวดอุจจาระ ไม่ควรอั้น ควรรีบไปเข้าห้องน้ำหรือฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หากเกรงว่าจะปวดอุจจาระในช่วงที่ต้องทำงานหรือว่ารถติด ก็อาจจะฝึกการถ่ายเช้า-เย็น ให้เป็นกิจจะลักษณะ เพื่อลดอาการไปอั้นอุจจาระในช่วงอื่นได้

ยาหยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว และเก็บกักเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุไว้ในลำไส้นานขึ้น ฉะนั้น ควรใช้วิธีปรับพฤติกรรมขับถ่ายให้เหมาะสม ดีกว่าหวังพึ่งยาที่มาพร้อมความเสี่ยงต่อสุขภาพนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *