เข้าสู่ช่วงครึ่งปีแล้ว เชื่อว่าทั้งปีที่ผ่านหลายคนคงผ่านการเดินทางมากมายนับครั้งไม่ถ้วนไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปเพื่อทำธุระหรือว่าเดินทางเพื่อไปพักผ่อนหย่อนใจ แต่เชื่อมั้ยว่าระหว่างการเดินทางก็มีเรื่องให้ได้วิตกเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่ต้องโยสารโดยเครื่องบินเป็นประจำ
ดังนั้น มาดามเลยขอยกเอาเรื่องราวดีๆ จากชีวจิต เกี่ยวกับเรื่องของการเดินทางบนเครื่องบินอย่างไรให้ไกลโรค ไปดู!
ใช้ทิชชูเปียก (Antibacterial Wipes) เช็ดมือตนเอง
เข็มขัดนิรภัย เก้าอี้ พนักพิง และที่วางแขนของที่นั่งบนเครื่องบิน ก่อนลงนั่งทุกครั้ง ซึ่งคุณแคทเธอรีน ฮาร์โมน ผู้อำนวยการสถาบันความฉลาดด้านสุขภาพไอเจ็ทยืนยัน
ปิดปากขณะจามด้วยแขนเสื้อ
เนื่องจากการจาม 1 ครั้ง เชื้อโรคจะแพร่กระจายไปไกล 6-30 ฟุต การใช้มือปิดปากก็อาจทำให้เชื้อโรคติดอยู่บนมือ แล้วก็จะไปติดอยู่ตามสิ่งต่าง ๆ หากคุณเผลอไปจับมันเข้า ฉะนั้นการปิดปากด้วยแขนเสื้อจึงดีที่สุด
สั่งน้ำมูก ถ้าเกิดอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล คุณแคทเธอรีน แนะนำไม่ให้ซื้ดเก็บไว้ เพราะเชื้อโรคจะวนเวียนอยู่ในจมูกและทางเดินหายใจของเรา
ดื่มน้ำ
เพราะอากาศบนเครื่องบินแห้งราวทะเลทราย ซึ่งร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาโดยการทำให้น้ำมูกไหล คุณแคทเธอรีนจึงแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันน้ำมูกไหล
เลี่ยงพริกป่นและธัญพืชในอาหาร
เพราะอาหารส่วนใหญ่ได้รับการอุ่นด้วยไมโครเวฟ ยกเว้นพริกป่นและธัญพืช ซึ่งอาจจะมีแบคทีเรียซัลโมเนลลาที่ทำให้ปวดท้องหรือท้องเสียบนเครื่องบินได้
อย่าไว้ใจก๊อกน้ำ
อย่าว่าแต่ดื่มเลย แม้กระทั่งจะล้างมือก็ต้องระวัง เพราะเครื่องบินจะเติมน้ำในถังเก็บจากประเทศที่ลงจอด ซึ่งเราไม่รู้ว่าคุณภาพน้ำในประเทศนั้น ๆ เป็นอย่างไรบ้าง
ใช้หมอนและผ้าห่อมที่แพ็คไว้เท่านั้น
เพราะถ้าเครื่องนอนเหล่านี้อยู่นอกถุงพลาสติก ให้สงสัยก่อนเลยว่ายังไม่ได้ทำความสะอาด
รีบฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง 7-10 วัน
เพราะหากรอจนกระทั่งใกล้วันเดินทางจึงฉีด ตัวยาอาจออกฤทธิ์ไม่ทัน
อย่าจับโน่นจับนี่ตลอดเวลา
เพราะเราอาจเผลอยกมือลูบหน้า ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคที่ติดมือมาผ่านเข้าร่างกายทางปากหรือจมูกได้
รู้อย่างนี้แล้ว เดินทางเมื่อไหร่ก็สบายใจ ไม่ต้องตื่นตระหนกกับโรคร้ายจนลนลาน