ได้เวลาบอกลาความหิวก่อนตรวจเบาหวาน หมดโอกาสหลอกตัวเองและหมอ ด้วยเอวันซี

0

จริงหรือไม่?

  • เบาหวาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • คนอ้วนเท่านั้นที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้หญิงเสี่ยงเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ชาย
  • ตรวจเบาหวานต้องงดน้ำงดอาหาร
  • ต้องตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทุกปี

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดไม่ได้  แต่สามารถควบคุมให้เหมือนหายแล้วได้

อาจารย์ นายแพทย์ เพชร รอดอารีย์  เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ  อาจารย์หน่วยโรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอริสม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ให้ข้อมูลว่า

“โรคเบาหวาน ถ้าผู้ป่วยมีวินัยในการรับประทานอาหาร ดูแลสุขภาพสม่ำเสมอ ก็จะสามารถควบคุมจนไม่มีอาการของโรคได้ เหมือนหายจากการเป็นเบาหวาน แต่ที่บอกว่า ไม่สามารถรักษาให้หายขาดก็คือ ถ้าผู้ป่วยรู้สึกว่า ตัวเองหายแล้ว เลิกดูแลควบคุมไลฟ์สไตล์และการรับประทานอาหาร แน่นอนว่า อาการของโรคเบาหวานจะกลับมา รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะขึ้น

time-to-say-goodbye-to-diabetes-before-the-opportunity-to-fool-yourself-and-the-doctor-with-hba1c

ทั้งนี้ เบาหวาน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิต แต่คนกลับไม่ค่อยหวั่นกลัว  เพราะมักไม่แสดงอาการของโรค หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยอย่างช้าๆ แต่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง   สามารถส่งผลให้ไตเสื่อม ตาบอด เป็นโรคปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าเปื่อยเรื้อรัง ต้องถูกตัดเท้า หรือเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ในประเทศไทย อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี ในแต่ละวันจะมีประชากรไทยจำนวน 180 รายเสียชีวิตจากโรคเบาหวาน หรือเกือบ 8 รายต่อชั่วโมง1

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงวันเบาหวานโลกปีนี้ มารู้จักวิธีการตรวจเบาหวานแบบใหม่ แบบไม่ต้องงดอาหาร เรียกว่า การตรวจค่าน้ำตาลสะสม หรือการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ซึ่งสมาคมโรคเบาหวานของสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association; ADA)2 และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ  ได้กำหนดให้ใช้ HbA1c ในการวินิจฉัยการเป็นโรคเบาหวานได้3

อาจารย์ นายแพทย์ เพชร รอดอารีย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า…

“เม็ดเลือดแดงของเรามีอายุเฉลี่ยประมาณ 120 วัน เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือกลูโคส ก็จะเข้าสู่กระแสเลือด และไปจับฮีโมโกลบินเอ (HbA) ในเม็ดเลือดแดง   ซึ่งทางห้องปฏิบัติการสามารถตรวจวัดค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะอยู่นี้ได้ เรียกว่า  ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) หรือ การตรวจเอวันซี  ทั้งนี้ ด้วยอายุเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง ทำให้การตรวจเอวันซี เป็นการแสดงค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา4 การงดหรือไม่งดอาหารก่อนตรวจ จึงไม่มีผลต่อการตรวจ และไม่มีผลกระทบจากความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือด อันเป็นผลจากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม การตรวจเบาหวานทุกรูปแบบ รวมถึงการตรวจสุขภาพ (Checkup) ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ”

drpetch01

“ผลการตรวจด้วยเอวันซี จึงมีความแม่นยำ และสะท้อนภาวะที่แท้จริงของผู้เข้ารับการตรวจ การเร่งฟิตร่างกายหรือควบคุมอาหารช่วงสั้นๆ ก่อนตรวจเบาหวานไม่ส่งผลต่อค่าเอวันซี ทำให้สามารถช่วยค้นหาผู้เสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานในอนาคต ผู้ที่เป็นเบาหวานแต่ยังไม่มีอาการของโรค รวมถึงเป็นเครื่องมือในการประเมินว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้ดีหรือไม่ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม”

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เช่น ผู้ที่มีอายุ  35 ปีขึ้นไป, มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน, ไม่ออกกำลังกาย หรือมีญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน หลังจากตรวจคัดกรองแล้ว  ผลคัดกรองอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถเว้นการตรวจได้ 1-3 ปี3

“ส่วนผู้ที่มีอาการเบาหวาน ควรตรวจเอวันซี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้แพทย์ประเมินและวางแผนการรักษาในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม  การตรวจเอวันซีทำให้ผู้เข้ารับการตรวจได้รับความสะดวกมากขึ้น ไม่หงุดหงิดหรือวิงเวียนจากการงดอาหาร 8-12 ชั่วโมงล่วงหน้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ลดการเตรียมตัว”

อาจารย์ นายแพทย์ เพชร รอดอารีย์ กล่าวเสริม

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เป็นเบาหวานเกือบ 5 ล้านคน5  โดยเบาหวานเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ของหญิงไทย6 พบว่าผู้หญิง 1 ใน 8 รายเสียชีวิตจากโรคเบาหวาน และจำนวนผู้ป่วยมีมากกว่าผู้ชาย โดยที่ผู้หญิงเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 9.8   ในขณะที่ผู้ชายเป็นเบาหวานเพียงร้อยละ 7.86

ทั้งนี้ ผู้หญิงไทยมีบทบาทที่ต้องดูแลอาหารการกิน และความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้ เวลาในการดูแลสุขภาพตนเองลดน้อยลงไป รวมถึงขาดการออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้หญิงในต่างจังหวัด

วันเบาหวานโลกในปีนี้ สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ ให้ความสำคัญเรื่อง “ผู้หญิงกับเบาหวาน” 6 ต้องการส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการสุขภาพ และหาเวลาดูแลสุขภาพ รวมถึงตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อหยุดเบาหวาน และป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนอันเป็นสาเหตุที่ทำให้พิการและเสียชีวิตได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *