6 ข้อเตรียมตัวพร้อมสู้ เมื่อฉันตรวจพบว่าเป็นโรคร้าย…

0

Did You Know!

รู้หรือไม่ว่าโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับหนึ่งคือ…

โรคมะเร็งซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มีมากถึงกว่าปีละ 60,000 รายหรือเฉลี่ย 1 คนต่อทุก  ๆ 8 นาที โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิต ตามมาด้วยมะเร็งเต้านม

เมื่อฉันโดนวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้าย …

โรคร้ายเกิดขึ้นได้กับทุกคน บ่อยครั้งที่เราได้ยินว่า คนรอบตัวเป็นโรคแล้วก็อดสงสารหรือเห็นใจไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรเมื่อคุณหรือคนในครอบครัวถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายเองบ้าง การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนเตรียมตัวดี มีกำลังใจดี และใจสู้ ก็สามารถผ่านโรคร้ายมาได้

เผชิญหน้ากับความจริง

disease11 (2)

สำหรับผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงเรื้อรัง หรือแม้แต่โรคที่อันตรายถึงชีวิตช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ท่วมท้นไปด้วยอารมณ์นานัปการ ไม่ว่าจะเป็นการกลัวความทุกข์ ความเจ็บ กลัวว่าตนจะต้องพิการ และความวิตกกังวลเหล่านี้จะนำมาซึ่งความเศร้า เพราะฉะนั้นระยะแรกต้องหาวิธีทำใจยอมรับและเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้ และสิ่งที่จะทำให้คุณก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ก็คือกำลังใจจากคนรอบข้าง

หาข้อมูลเพิ่มเติมและอย่าท้อ 

พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ตนเป็นให้มากที่สุด เพราะนอกจากจะได้เข้าใจโรคที่เป็นแล้ว ยังทำให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวคุณได้ เช่น กรณีผู้ป่วยโรคมะเร็ง คุณอาจต้องหาข้อมูลเบื้องต้นอย่างชนิดของโรคมะเร็งที่เป็นมันแพร่กระจายหรือไม่ มีโอกาสหายขาดหรือเปล่า แนวทางการรักษาทำได้อย่างไร และจะเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้างในการรับการรักษา เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ดีขึ้น

หาเพื่อนร่วม “โรค”

คำว่า “หัวอกเดียวกัน” ดูจะเหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์นี้ เพราะฉะนั้นการมีเพื่อนที่เป็นโรคเดียวกับคุณไว้คอยปรึกษาพูดคุย จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น เพราะคนที่เป็นโรคเดียวกับคุณสามารถเข้าใจอาการและสภาพของโรคอย่างแท้จริง และเมื่อต้องให้คำปรึกษาก็จะสามารถให้คำปรึกษาด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณรับมือกับโรคร้ายนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อนและคนในครอบครัว

200253040-001

เพื่อนและครอบครัวจะเป็นตัวช่วยที่ดีในสถานการณ์ที่ยุ่งยากนี้ เป็นต้นว่า พวกเขาอาจช่วยดูแลไปรับไปส่งระหว่างที่คุณไปพบแพทย์ เตรียมอาหารให้คุณ ช่วยทำงานบ้าน เพราะฉะนั้นอย่าเกรงใจหรือปฏิเสธความช่วยเหลือจากคนเหล่านี้ จงเรียนรู้ที่จะรับความช่วยเหลือ

หาวิธีรับมือกับโรคในแบบของตนเอง

แต่ละโรคก็มีอาการหรือสภาพแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นแต่ละคนอาจต้องหาวิธีรับมือในแบบที่แตกต่างกัน เช่น ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เปิดเผยความรู้สึกกับคนรอบข้างอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนหรือที่ปรึกษา รวมถึงกินของที่มีประโยชน์ให้เยอะเท่าที่จะทำได้ “ยู้กินเยอะมาก ช่วงหลังทำคีโมจะอ้วกออกมาเท่าไหร่เราก็กินเสริมเข้าไปเท่านั้น ถ้าไม่บำรุงร่างกายจะอ่อนแอ เม็ดเลือดขาวจะตกทำให้ทำคีโมไม่ได้

พยายามใช้ชีวิตตามปกติ

disease11 (3)

กลับไปใช้ชีวิตให้มีความสุข อย่าคิดว่าตัวเองป่วย อย่าคิดมากว่าอะไรกินได้อะไรกินไม่ได้ แต่ให้คิดเหมือนคนดูแลสุขภาพปกติว่าควรกินส้มตำทุกวันมั้ย ควรเลือกร้านก่อนหรือเปล่า พยายามใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ  แต่ปรับเปลี่ยนบ้าง ในส่วนที่จำเป็นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อโรคที่คุณเป็น ประเด็นคือพยายามดำเนินชีวิตในแบบที่เคยเป็น ไม่ต้องลุกขึ้นมาปรับวิถีชีวิตทุกสิ่งทุกอย่างอย่างฉับพลันทันที เพราะนั่นอาจทำให้คุณรู้สึกฝืนใจและทำได้ลำบากฉะนั้น ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

จำไว้ว่าหลายคนที่หายป่วยจากโรคร้ายได้ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ แต่เป็นความตั้งใจสู้ของตัวคุณเอง

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *