ในสังคมยุคโซเชียลกำลังมาแรง อาจพาให้คนเป็นโรค มโนหรือหลอกตัวเอง (Pathological Liar) กันได้ง่ายๆ ซึ่งโรคหลอกตัวเอง ในวงการจิตวิทยา คืออาการผิดปกติทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยพูดโกหกไปได้เรื่อย ๆ จุดประสงค์ก็เพียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือต้องการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง เท่านั้นเอง เรามาลองดูหน่อยไหมว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วจะสามารถรักษาอาการได้แบบไหน ดังเนื้อหาข้างล่างนี้
โรคหลอกตัวเองมันมาจากไหน?
คณะจิตเวชศาสตร์ Chandigarh University ประเทศอินเดีย ค้นพบว่า…
โรคหลอกตัวเองมักจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการแต่งเรื่องหลอกตัวเองเพื่อที่จะหลบหนีความจริงบางอย่างที่ไม่อยากรับรู้ จึงสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อหลอกตัวเองซ้ำๆ สุดท้ายจิตใต้สำนึกก็บอกตัวเองว่ามันคือเรื่องจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงในชีวิต
ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
- ความขัดแย้งในครอบครัว อาจอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหามาตั้งแต่เด็ก ๆ
- ถูกกระทำชำเรา หรือถูกทำร้ายร่างกาย บังคับขืนใจในบางเรื่อง
- มีความผิดปกติทางประสาท เช่น ความพิการทางสมอง หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้
- มีอาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น อันธพาล หลงตัวเอง หรือโรคบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นต้น
- มีพฤติกรรมเลียนแบบ
- มีผลข้างเคียงมาจากโรคยั้งใจไม่ได้ เช่น ชอบขโมยของ หรือ มีโรคบ้าช้อปปิ้งร่วมด้วย
อาการที่มักเห็นได้บ่อยๆ
- มักพูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มหลอกๆ ที่สามารถจับสังเกตได้
- การพูดมักมีสีหน้านิ่งเกินเหตุ ดูไม่เป็นธรรมชาติ คล้ายกำลังพูดด้วยอาการเกร็ง
- หายใจถี่และแรงขึ้น กระพริบตาถี่ ชอบเม้มริมฝีปาก
- พูดติดขัด มีเนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
- มักใช้มือแตะหรือจับที่ปากขณะที่พูด
- อาจจับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะที่พูด
สำหรับคนที่เข้าข่ายโรคหลอกตัวเองนี้ สามารถเข้าพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาให้หายขาดได้ อาจเป็นด้วยการพูดคุยตักเตือน พฤติกรรมบำบัด หรือด้วยยา ซึ่งถ้าเราเปิดใจรับไม่นานเราก็จะกลับเข้าสู่โลกปกติได้อีกครั้ง ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะครับ ถ้ารู้ตัวจัดการด่วน !