นพ. จตุรงค์ ตันติมงคลสุข, นพ. นรินทร์ วรวุฒิ หน่วยโรคมะเร็ง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความหมายในเรื่องนี้ไว้ว่า…
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งคือการตรวจหาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ ซึ่งจุดประสงค์ของการตรวจคัดกรองนั้นเพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราการตายในผู้ที่ได้รับการตรวจโดยที่การทดสอบนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงเกินไปและสามารถทำได้ในประชากรกลุ่มใหญ่ การตรวจคัดกรองไม่ใช่การวินิจฉัยเป็นเพียงแต่เครื่องมือชี้นำว่าน่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นทำให้นำไปสู่การตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอนและการรักษาที่ถูกต้อง
ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็ง (Cancer Screening) เป็นการตรวจค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก โดยที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ ทั้งนี้จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ควรจะเริ่มตรวจเมื่อไรและด้วยวิธีการใดนั้น แนะนำไว้ดังนี้…
โรคมะเร็งปากมดลูก
การตรวจแปปสเมียร์
- ผู้หญิง อายุ 21-30 ปี ตรวจทุก 3 ปี
- ผู้หญิง อายุ 30-65 ปี ตรวจทุก 5 ปี
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
- ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ 50-75 ปี ตรวจทุก 10 ปี
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและทวารหนัก
- ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ 50-75 ปี ตรวจทุก 5 ปี
การตรวจหาเลือดในอุจจาระ
- ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ 50-75 ปี ตรวจทุกปี
โรคมะเร็งเต้านม
การตรวจแมมโมแกรม
- ผู้หญิง อายุ 50-74 ปี ตรวจทุก 1-2 ปี
มะเร็ง… รู้ก่อนรักษาได้และสามารถป้องกันได้นะครับ!