“โรคไต” ใครก็เป็นได้! กับ 7 อาการส่อโรคไตเรื้อรัง

0

“โรคไต” ถือเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังถึง 8 ล้านคน!

ดังนั้น สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยจึงได้เปิดเผยข้อมูลของ 7 อาการส่อโรคไตเรื้อรัง หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจยืนยันต่อไป

1.ปัสสาวะแสบคัน

เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่พบในเพศหญิงหากพบในเพศชายอาจเกิดจากโรคนิ่วในไต

2.ปัสสาวะลำบาก

ต้องอาศัยแรงเบ่งหรือปัสสาวะสดุดกลางคันแสดงถึงการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซำๆหรือเกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเรื้อรังจนนำไปสู่โรคไตเรื้อรังในที่สุด

3.ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ

ขณะนอนหลับในเวลากลางคืนนาน6-8ชั่วโมงไตจะดูดนำกลับมากขึ้นทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะลดลงไม่จำเป็นต้องตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะยกเว้นในรายที่ดื่มนำก่อนเข้านอนอาจตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะ 1-2 ครั้ง

สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีแระสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงจึงไม่สามารถดึงนำกลับคืนสู่ร่างกายได้ตามปกติส่งผลให้ตื่นกลางดึกบ่อยครั้งเพื่อขับนำออกทางปัสสาวะ

4.ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นผิดปกติ

alarmforkidney (1)

ปัสสาวะปกติมีสีเหลืองใสหรืออาจเข้มขึ้นเมื่อดื่มนำน้อยแต่หากมีสีแดงคล้ายเลือดหรือสีนำล้างเนื้อแสดงว่าอาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะสาเหตุเกิดจากการติตเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะโรคนิ่วในไตโรคไตอัดเสบหรือมีเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ

5.อาการบวมบริเวณใบหน้าและเท้า

alarmforkidney (3)

สังเกตุได้ง่ายเวลาตื่นนอนอาจมีอาการบวมบริเวณรอบตาและใบหน้าตกบ่ายอาจมีอาการเท้าบวมสังเกตุได้ชัดจากรองเท้าที่สวมใส่จะคับขึ้นเมื่อใช้นิ้วมือกดที่เท้าหรือหน้าแข้งจะมีรอยบุ๋มสาเหตุเกิดจากไตไม่สามารถขับเกลือและนำออกจากร่างกายได้ตามปกติทำให่มีการคั่งค้างของนำในร่างกาย

6.อาการปวดหลังปวดเอว

alarmforkidney (4)

หากเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุอาจมีสาเหตุมาจากโรคนิ่วในไตหรือเกิดจากการอุดตันของท่อไตหรือถุงนำในไตอาการที่ปรากฎคือปวดบริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลังและมักมีอาการปวดร้าวไปถึงท้องน้อยขาอ่อนหรืออวัยะวะเพศมักพบร่วมกับมีปัสสาวะเป็นสีนำล้างเนื้อหรือสีขาวขุ่นหากปวดหลังหรือปวดเอวโดยไม่มีอาการปวดร้าวไปที่อวัยะวะส่วนอื่นอาจเป็นอาการของไตอักเสบ

7.โรคความดันโลหิตสูง

หากมีความดันโลหิตมากกว่า140/90มิลลิเมตรปรอทและไม่ได้รับการรักษา หรือความดันโลหิตสูงเป็นเวลานานและไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อาจเสี่ยงเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงไตตีบ

เริ่มดูแลสุขภาพไตตั้งแต่วันนี้ด้วยการกินให้ถูกหลักปฏิบัติตัวให้เหมาะสมไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วย ไตก็เป็นองอวัยวะที่อ่อนไหว ดังนั้น ต้องดูแลให้ดีกันนะครับ

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *