การขับถ่าย เป็นระบบกำจัดของเสียในร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การดูแลให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีของเสียตกค้างอยู่ในลำไส้ ของเสียเหล่านั้นจะกลายเป็นสารพิษหมักหมมสะสมนำไปสู่อาการเจ็บป่วยได้
6 เคล็ดลับช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานได้ดี
- เมื่อปวดอุจจาระควรเข้าห้องน้ำทันที เพราะการที่ปวดท้องหนักแสดงว่าระบบลำไส้กำลังทำงาน แต่ถ้าเราอั้นไว้ ลำไส้จะถูกบีบ และอุจจาระจะดูดน้ำกลับ ทำให้เมื่อขับถ่ายครั้งต่อไป อุจจาระจะแข็ง และขับถ่ายลำบากกว่าเดิม นำไปสู่ปัญหาท้องผูกหรือริดสีดวงทวารหนักได้ นอกจากนี้ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ทำให้อาหารได้สัมผัสกับน้ำลาย ซึ่งมีไลเปสเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารประเภทไขมัน ส่งผลให้กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กไม่ต้องทำงานหนัก ตรงกันข้ามหากการเคี้ยวไม่ละเอียดอาจทำให้เศษอาหารที่ใหญ่เกินไปไม่ถูกขจัดออก และกลายเป็นสิ่งตกค้างอยู่ในลำไส้ เมื่อเน่าเปื่อยก็จะกลายเป็นแก๊ส ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องร่วงได้
- รับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ โดยรับประทานให้หลากหลาย (ประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน) และเพราะการกินใยอาหารอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องรักษาสมดุลจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ด้วย จึงจะช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ แนะนำให้ใช้ตัวช่วยในการดูแลระบบขับถ่ายอย่าง Combif AR ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จุลินทรีย์สุขภาพช่วยเรื่องปรับสมดุลลำไส้ โดยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีปริมาณที่มากพอ ทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวให้ขับถ่ายได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กำจัดจุลินทรีย์ร้ายให้ไม่สามารถยึดเกาะกับผนังลำไส้ได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยควรดื่มน้ำเปล่าปริมาณ 1.5-2 ลิตรเป็นประจำทุกวัน แต่ถ้าอากาศร้อนหรือมีไข้ อาจต้องการเพิ่มมากกว่านั้น เพื่อให้ไตทำงานฟอกของเสียในร่างกายและขับออกมา
- งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นการกระตุ้นให้ปัสสาวะมากขึ้นจนร่างกายอาจขาดน้ำ ต้องดึงน้ำในอุจจาระ ส่งผลให้ถ่ายลำบาก หรืออุจจาระแข็งได้ นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ยังอาจให้สารบางสารชนิดมีปริมาณลดลง เช่น แคลเซียม และฟอสเฟต ที่สูญเสียไปกับการขับถ่ายน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นขยับร่างกาย ไม่อยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน เนื่องจากผู้ที่ไม่ออกกำลังกายหรือต้องทำงานอยู่กับโดยไม่มีการขยับร่างกายจะเสี่ยงต่อภาวะโรคท้องผูกได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหว ลำไส้ก็จะหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว ดังนั้น กากอาหารที่กินไปก็ยังตกค้างอยู่ในลำไส้เช่นเดิม การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังกายทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว และเป็นการกระตุ้นการขับถ่าย
ทั้งนี้ หากไม่ขับถ่ายนาน 2 สัปดาห์ หรือต้องเบ่งมากกว่าเดิม หรือสงสัยว่ามีความผิดปกติในระบบขับถ่าย ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางรักษาได้ทันท่วงที